๏ เรื่องของจริยธรรมเป็นเรื่องที่คนไม่เข้าใจกันและไม่ตกลงกัน จริยธรรมหมายความว่าสิ่งที่ ฉัน ควรทำในสภาวะใดๆ เป็นเครื่องที่ช่วย ฉัน ตัดสินใจ จริยธรรมนั้นไม่ใช่สิ่งที่ เขา คนอื่นควรทำหรือไม่ควรทำ ตัดสินใจไม่เหมือนกฎหมายที่กำหนดสิ่งที่คนควรทำหรือไม่ทำ อย่างไรก็ตามที่คนไม่เข้าใจกันและไม่ตกลังกันไม่หมายถึงว่า ทำอะไรก็ได้แล้วแต่อำเภอใจ ตัดสินใจไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แม้ว่าเราตัดสินใจสำหรับเราเอง
๏ ปัญหาคือมีหลายวิธีมองจริยธรรม อาจารย์บราดี้ในตำราของอาจารย์พรีชาร์ดแนะนำจัดความเห็นต่างๆ ในสามกลุ่ม อาทิ ๑. คนที่ถือผู้ทำเป็นสำคัญ ๒.คนที่ถือการกระทำเป็นสำคัญ และ ๓. คนที่ถือผลประโยชน์ของการกระทำเป็นสำคัญ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่คนไม่เข้าใจกัน เพราะเขามองคนละประเด็น จงมาดูสามกลุ่มความคิดต่อไป
๏ ในกลุ่มที่หนึ่งคนมองลักษณะของผู้ทำ มีนิสัยอะไร มีวิธีชีวิตอย่างไร คนนั่นจะเป็นคนตัวอย่าง แต่สิ่งที่เขาทำไม่วิเคราะห์หรือไม่สำคัญ ความเห็นแบบนี้พบในจริยธรรมของนักปราชญ์กรีกสมัยโบราณอาริสโตเติล
๏ ในกลุ่มที่สองคนไม่มองลักษณะของผู้ทำ แต่มองการกระทำเป็นหลัก มีการกระทำที่ไม่ควรทำไม่ว่าใครทำก็ผิด ความเห็นนี้พบในจริยธรรมของนักปราชญ์เยอรมันอิมมานูเอล คานต์
๏ เขาดำเนินชีวิตสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คานต์ถือว่า การกระทำที่ถูกต้องต้องเป็นการกระทำที่สามารถเป็นกฎเกณฑ์สากล (Kategorische Imperativ) เช่น การหนีภาษีเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (แล้วแต่คานต์) เพราะว่าเป็นการกระทำที่ไม่สามารถเป็นกฎสากล ถ้าทุกคนหนีภาษีไม่มีใครเสียภาษีรัฐบาลอยู่ไม่ได้ ไม่มีเงินสร้างถนน เป็นต้น
๏ ในกลุ่มที่สามคนจะเน้นผลของการกระทำ เช่น จริยธรรมของนักปราชญ์อังกฤษ
จอห์น สจ๊วต มิลล์ เขาเขียนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มิลล์ถือว่าการกระทำที่ถูกต้องคือ สิ่งที่เพิ่มความสุขของหลายคน
แม้ว่าหนึ่งคนต้องลำบาก ถ้าหมู่โดยร่วมเพิ่มความสุข การกระทำนั้นถูกต้อง
๏ ส่วนพุทธจริยธรรมแล้วแต่พระอภิธรรมดูเหมือนกันที่จะอยู่ในกลุ่มที่สองคือ มองการกระทำเป็นหลัก โดยเฉพาะจิตของผู้ทำขณะที่กำลังทำอะไร ถ้าจิตประกอบด้วย โลภะ โทษะ หรือโมหะ การกระทำนั่นถือไม่เป็นกุศล เช่นสมมุติว่ามีคนตกลงไปเที่ยวกับเพื่อน เดี๋ยวมีสาวโทรมาอยากพบ แล้วเขาจะไปบอกเพื่อนจะไม่ไป การกระทำนี้มีจิตที่ประกอบด้วยโลภะ คืออยากพบสาว ตัวอย่างที่สองคือหัวหน้าไม่พอใจกับงานลูกจ้างอยากให้ลาออก ทั้งที่จะแนะนำวิธีทำ ต่อไปโกรธด่าลูกจ้าง ในการกระทำนี้มีโทษะ หัวหน้าไม่สามารถมองความจริง และทำประโยชน์ให้บริษัท มีแต่ปล่อยอารมณ์ การกระทำนี้ไม่กุศล แต่ต้องยอมรับที่พุทธจริยธรรมนั้นมีหลายๆ สำนัก อย่างอธิบายโดยท่าน พระมหาพรชัย สิริวโร
๏ ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมควรศึกษาวิชาอภิจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาความหมายของศัพท์ทางจริยาศาสตร์ ศึกษาลักษณะข้อเสนอทางจริยธรรม ทัศนคติ และการตัดสินใจชนิดต่างๆ ๚
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น