วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตำราระบบต่อมไร้ท่อเล่มใหม่

วิชาต่อมไร้ท่อเป็นวิชาที่ซับซ้อนพอสมควร เพราะต้องอาศัยความรู้ระบบของร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบประสาท ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบการเดินอาหาร ฯลฯ วิธีเรียนส่วนใหญ่มีสอนวิธี คือ เรียนระบบต่างๆ ก่อน และเรียนระบบต่อมไร้ท่อที่หลัง เพื่อจะนำความรู้มาบูรณาการและสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ แต่วิธีนี้มีปัญหาที่ผู้เรียนอาจจำการทำงานของอวัยวะบางอวัยวะไม่ได้ เพราะเรียนมานานแล้ว

ส่วนผู้เป็นครูอาจารย์อาจสงสัยทำไมเป็นแบบนี้ ดูเหมือนกับว่าปัญหาอยู่ที่ผู้เรียน ขณะเรียนระบบหนึ่งคงไม่ได้สังเกตเห็น ความเกี่ยวข้องกับระบบอื่น เช่น เมื่อเรียนระบบประสาท นิสิตอาจได้ยินศัพท์ OVLT หรือ subfornical organ หรือ median eminence แต่ขณะนั้นยังไม่ได้เห็นความสัมพันธ์ก๊าซในเลือด ความดันออสโมซิส หรือการไหลเวียนโลหิต เพราะขณะเรียนระบบประสาทยังไม่ได้ใส่ใจกับการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจ

วิธีเรียนอีกวิธีหนึ่งคือ เรียนต่อมไร้ท่อก่อนและฮอร์โมนชนิดต่างๆ โดยชี้ความสัมพันธ์กับการทำงานของอวัยวะอื่นๆ แม้ว่าผู้เรียนอาจจะยังไม่เข้าใจอย่างละเอียด วิธีนี้จะช่วยให้นีสิตตื่นตัว เตรียมพร้อมไว้เพื่อสังเกตสิ่งที่ต้องเรียนต่อ เช่น นิสิตเรียนต่อมไร้ท่อเสร็จแล้วเข้าเรียนไต จะสังเกตที่วิตามินดี สร้างที่ผิวหนัง ถูกปรับที่ตับและไต ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ แต่มีผลสุดท้ายทั้งที่ไตและกระดูก เป็นต้น

ตำรา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาระบบต่อมไร้ท่อ ของ ผ.ศ.ดร. พรรณี หนูซื่อตรง และ ผ.ศ.ดร. อรพิน เกิดประเสริฐ ได้อธิบายการทำงานของร่างกายโดยรวม มี ๙ บท อธิบายฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกายใน ๑๕๐ หน้า เหมาะสำหรับผู้เริ่มเรียนระบบต่อมไร้ท่อ อ่านรอบแรกในหนึ่งสัปดาห์ได้ หลังจากอ่านบทนำที่แนะนำฮอร์โมนสำคัญและกลไกออกฤทธิ์แล้ว บทที่ ๒ อธิบายหน้าที่ของไฮโพทาลามัสและต่อมไต้สมอง ซึ่งบทนี้เป็นบทที่สำคัญที่สุดของเล่ม ควรอ่านอย่างละเอียดและควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ต่อไปบทที่ ๓ อธิบายการทำงานของต่อมไพเนียล บทที่ ๔ เล่าถึงต่อมไทรอยด์ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์มีความสำคัญในการปรับอัตราเมแทบอลิสึมพื้นฐานของร่างกาย และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง เช่น ตับ หัวใจ ไขมัน เป็นต้น บทที่ ๕ นอกจากพรรณนาต่อมพาราไทรอยด์อย่างละเอียดแล้ว ยังอธิบายการควบคุมปริมาณแคลเซียมในร่างกาย พร้อมกับวิตามินดีและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง

บทที่ ๖ เล่าถึงต่อมหมวกไต อธิบายฮอร์โมน ACTH (ต่อมใต้สมอง) และคอร์ทิซอล และบรรยายสภาวะตึงเครียดและกลุ่มอาการขแง Cushing นอกจากนี้ยังอธิบายถึงฮอร์โมนแอลโดสเตโรนและการรักษาสมดุลน้ำของร่างกาย และมีส่วนสั้นๆ ที่อธิบายถึงฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนด้วย ต่อไปบทที่ ๗ ซึ่งมีชื่อ ไอสเล็ตส์ออฟแลงเอร์ฮานส์ อธิบายถึงฮอร์โมนที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือด อาทิ อินซูลิน และ กลูคากอน และฮอร์โมนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ผู้เรียนควรเก็บความรู้เหล่านี้ไปใช้ขณะที่จะเรียนระบบการเดินอาหาร บทที่ ๘ พรรณนาฮอร์โมนต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้พบในตำราพื้นฐานที่แต่น่าสนใจ เช่น ฮอร์โมนของต่อมไทมัส เลปทิน สารไอโกซานอยด์ เป็นต้น

บทสุดท้าย คือบทที่ ๙ เป็นบทที่น่าสนใจมาก เป็นบททบทวนความรู้ มีกรณีศึกษาทางคลินิกสามกรณีเพื่อมาวิเคราะห์พร้อมกับคำเฉลย สำหรับทบทวนความรู้ตำรายังประกอบกับแผ่นซีดีมีรูปภาพและการสอบแบบสอบปรนัย

บทที่ ๑-๘ ทุกบทอธิบายการเจริณและพัฒนาการของต่อม พร้อมกับพรรณนาลักษณะทางด้านกายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์ด้วย (มิญชวิทยา) และอธิบายกลไกการทำงานของฮอร์โมนในระดับอนุชีววิทยาได้อย่างเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มเรียน

ถ้าจำเป็นต้องชี้จุดอ่อนเพื่อให้บทวิจารณ์มีความเชื่อถือ ต้องยอมรับว่าตำราเล่มนี้ยังขาดในเรื่องฮอร์โมนสเตรอยด์และฮอร์โมนเพศ แม้ว่าได้อธิบายบางส่วนในบทที่ ๖ (ต่อมหมวกใต) ซึ่งน่าที่จะมีบทโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ต่าม ตำราของ ผ.ศ.ดร. พรรณี และ ผ.ศ.ดร. อรพิน เมาะสมสำหรับผู้เริ่มเรียน และผู้ที่อยากเศึกษาระบบต่อมไร้ท่อโดยรวมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ทบทวนความรู้และอยากมองวิชนี้อย่างทันสมัย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น