วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

หมู่เลือด RhD

๏ งานวิจัยทางชีววิทยาและทางการแพทย์ช่วยทำให้สุขภาพมนุษย์ดีขึ้น ซึ่งเมื่อสุขภาพแข็งแรงอาจจะไม่ต้องไปหาหมอก็ได้ ถ้ามาดูความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยนั้น ต้องมีกระบวนการที่จะแปลเป็นวิธีป้องกันโรคหรือรักษาโรคได้ ที่นี้จะมาดูกระบวนการนั้นโดยใช้กรณีของหมู่เลือด RhD

๏ โลหิตของมนุษย์มีหลายชนิดหลายกลุ่ม บางกลุ่มเข้ากันไม่ได้ เช่น คนที่มีหมู่เลือดในกลุ่ม A สามารถบริจาคเลือกให้ผู้ที่มีเลือดในกลุ่ม A หรือ AB เท่านั้น ถ้าคนที่มีเลือดในกลุ่ม A รับเลือดที่ไม่ถูกต้องจะเกิดการตอบสนองด้านภูมิคุ้มกันในร่างกาย จะทำให้เม็ดเลือดแดงที่เข้ามาใหม่แตก นอกจากนี้ยังมีเลือดหลายระบบ ระบบ A-B-O เป็นเพียงระบบหนึ่ง ยังมีระบบ RhD, Kell, Duffy, MN ฯลฯ ซึ่งจะนำระบบ RhD มาวิเคราะห์ต่อไป

๏ คนปกติถือยีน RhD บนโครโมโซม ๑ ขณะเพิ่งพบเห็นที่มีลักษณะคล้ายกับยีนที่พบในลิง Rhesus ซึ่งตั้งชื่อRh ยีนนั้นมีระหัสสำหรับสร้างโปรตีน D เป็นโปรตีนในครอบครัวโปรตีนขนส่งสารแอมโมเนีย โปรติน D พบบนเม็ดเลือดแดง คนที่มียีนสมบูรณ์จะเรียก RhD บวกทางพันธุกรรม ส่วนคนที่ไม่มียีน D หรือผิดปกติจะเรียก RhD ลบ ต้องสังเกตที่ขณะมียีน D สมบูรณ์จะสามารถสร้างโปรตีน D ได้ ไม่จำเป็นที่ยีน D ต้องสมบูรณ์ในโครโมโซมหนึ่งทั้งคู่ ถ้าสมบูรณ์ในโครโมโซมตัวเดียวสังเคราะห์โปรตีน D ได้ คนที่สร้างโปรตีนดีไม่ได้เป็นคนที่มียีน D ผิดปกติในในโครโมโซมทั้งคู่ ดังนั้นทางพันธุศาสตร์จะเรียกว่ายีนด้อย

๏ ยีน D สำคัญเพราะว่า คนที่เป็น RhD ลบ ซึ่งไม่มีโปรตีน D บนผิวเม็ดเลือดแดง คนนั้นจะไม่สามารถรับเลือดจากคนที่เป็น RhD บวก ขณะเลือดนั้นเข้าในกระแสเลือดจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันรับรู้โปรติน D และจะถือโปรตีนนั้นไม่ใช่ของร่างกาย เป็นโปรตรีมาจากนอก และจะกระต้นกระบวนการสร้างสารภูมิต้านทานต่อโปรตีน D กรณีนี้ต่างกับกรณีของระบบ A-B-O ซึ่งในกรณีนั้มเป็นโครงรางของน้ำตาลที่ติดกับโปรตีนบนผิวเม็ดเลือดแดงที่จับกับสารภูมิต้านทานที่มีอยู่ในเลือดแล้ว อย่างไรก็ตามคน RhD ลบที่ได้สัมผัสกับเลือด Rh บวกจะเริ่มสร้างสารภูมิต้านทาน จะเรียกว่าภูมิไวเกิน เพราะรังต่อไปที่สัมผัสกับเลือด RhD บวกจะมีสารภูมิต้านทานในกระแสเลือดพร้อมที่จะจับกับเม็ดเลือดแดงและให้แตก

๏ ถ้าคนที่มีเลือดชิด RhD ลบไม่ได้รับเลือเลย ก็คงจะไม่มีปัญหา แต่อาจจะมีกรณีที่เขาตั้งครรภ์ ลูกอาจจะมีเลือดชนิด RhD บวก ซึ่งได้รับยีน D จากบิดา ถ้าเลือดของทารกและมารดาได้ผสมกันสภาวะภูมิไวเกินจะเกิดขึ้น และแม่จะเริ่มสร้างสารภูมิต้านทาน นักวิจัยกำหนดที่ปริมาตรเลือดทารกยังน้อย ๑๐-๓๐ ไมโครลิตรจะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้นกันของมารดาได้

๏ ดูเหมือนกันว่าจะไม่มีปัญหา เพราะระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและทารกแยกกันและเลือดไม่ได้ผสมกัน อันนี้เป็นทฤษฎีที่ได้เรียนใน ม. ๖ แต่ในชีวิตจริงถ้าแม่เจและรกได้แตกนิดๆ ซึ่งอาจไม่รู้สึกอะไรก็ได้ เลือดของมารดาและทารกจะได้ผสมกัน หรือขณะคลอดลูกอาจจะผสมกันได้ อย่างไร่ก็ตามเป็นสิ่งที่ตรวจได้ เพราะมีวิธีกำหนดปริมาตรเลือดของทารกที่พบในกระแสเลือดมารดา วิธีดังกล่าวใช้หลักการที่ฮีโมโกบินของทารกคือ ฮีโมโกบินชนิด F มีคุณสมบัติที่ต่อต้านสารกรดมากกว่าฮีโมโกบินธรรมดาของผู้ใหญ่ ถ้านำเลือดของมารดาไปห้องปฏิบัติการและผสมกับสารกรด เม็ดเลือดแดงของแม่จะแตกและเหลือแต่ผิว แต่เม็ดเลือดแดงของทารกยังอยู่ ถ้านำไปดูที่กล้องจุลทรรศน์จะสามารถนับจำหน่วนเม็ดเลือดแดงของมารดาและทารกได้ และจะสามารถกำหนดปริมาตรเลือดของทารกที่เข้าในกระแสเลือดของมารดาทั้งหมดได้ วิธีนี้เรียกว่าการทดลองแห่ง Kleihauer-Betke

๏ มารดาที่เป็น RhD ลบ หลังจากสัมผัสกับเม็ดเลือดแดงที่เป็น RhD บวก โดยรับเลือกก็ดี โดยตั้งครรภ์ก็ดี จะเริ่มสร้าง สารภูมิต้านทาน ชนิด IgG ต่อไปถ้ามารดาคนนั้นตั้งครรภ์ครั้งต่อไป สารภูมิต้านทาน ที่อยู่ในกระแสเลือดอยู่แล้ว ผ่านกรได้และเข้าในกระแสเลือดของทารก และให้เม็ดเลือดแดงของทารกแตก

๏ ส่วนสภาวะที่เม็ดเลือดแดงของทารกแตทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง อันดับหนึ่งทารกจะมีเม็ดเลือดแดงไม่พอสำหรับนำ O2 ถึงอวัยวะต่างๆ และส่ง CO2 ถึงปอด ถึงที่ทารกอาจจะเสียชีวิตในครรภ์ นอกจากนั้นจะมีปัญหากับสารๆ ที่เกิดจากเม็ดเลือดแดง สารฮีโมโกบินจะถูกย่อยและจะปล่อยวง Haem ซึ่งจะถูกตัดเปลี่เป็นบิลิรูบินและ Fe ลุด อันดับแรกสารบิลิรูบินนั้นจะล้างออกโดยกระแสเลือดของมารดาและจะถูกย่อยในตับของมารดา แต่หลังจากคลอดแล้ว สารบิลิรูบินนั้นจะมาสะสมในทารก ทำให้ผิวหนังสีเหลือง อาการนี้เรียกว่า ดีซา ส่วนใหญ่จะเริ่มที่บริเวณหน้าและจะแพร่ถึงแขนและขา สารบิลิรูบินที่มากเกินไปเป็นปัญหาเพราะว่า จะสะสมในระบบประสาท โดยเฉพาะที่ basal ganglia และจะให้เกิดปัญหากับการเคลื่อนไหว อันนี้เรียกว่า kernicterous

๏ วิธีแก้ปัญหาคือ ให้มารดาสารภูมิต้านทาน ที่จะจับกับโปรตีน D ถ้ามีเม็ดเลือดแดงของทารกเข้าในกระแสเลือดของมารดาจะถูกแตกในทั้นที่ก่อนที่จะให้ปฏิกิริยาภูมิคุมกันไวเกินเกิดขึ้น บางที่หมอให้หลังจากคลอดลูกคนแรกแล้ว หรือให้ก่อนที่จะคลอด หรือในในกรณีที่มีเลือดของทารกเข้ามาแล้ว แล้วแต่ผลลัพธ์การตรวจของ Kleihauer-Betke

๏ ดูเหมือนกับที่ไม่ยาก ถ้าดูผลของตรวจ RhD จะได้รู้ถ้ามารดาควรรับ สารภูมิต้านทานโปรตีน D หรือไม่ แต่ในห้องปฏิบัติการได้พบเลือดชนิดที่ไม่ได้จับกลุ่มขณะผสมกับซีรั่มที่มี anti-D เหมือนกับที่จะเป็นเลือด D ลบ แต่ขณะที่ใส่ anti-IgG มนุษย์เพื่อช่วยปฏิกิริยาจับกลุ่มได้ เลือดนี้มีโปรตีน D แต่ปริมาณน้อย ความจริงอันนี้ถือเป็นเลือด D บวกได้ เรียกว่า “D อ่อน” ไม่จำเป็นที่ต้องรักษามารดากับ anti-D ส่วนเลือดอีกชนิดหนึ่งไม่ได้จับกลุ่มกับ anti-D เพราะถ้ามีการกลายพันธุ์ในโปรตีน D เลือดในกลุ่มนี้อาจให้มารดาสร้างสารภูมิต้านทานตอโปรตีน D ได้ กลุ่มนี้เรียกว่า “D เป็นบางส่วน” (partial D) ดังนั้นมีความจำเป็นที่ต้องมาวิเคราะห์ยีน D อย่างละเอียด

๏ สิ่งที่คนคิดว่าเป็นยีน D ความจริงเป็นยีนสองตัวคือ ยีน D กับยีน CE เป็นสองยีนที่เกือบเป็นสำเนากัน ร้อยละ ๙๒ ของลำดับนิวคลีโอไทด์มีเหมือนกัน สองยีนนี้อยู่ทิศทางตรงกันข้ามบนโครโมโซม คนที่เป็น RhD ลบ มียีนทั้งหมดที่ถูกตักออกจากโครโมโซม แต่ยีน CE ยังอยู่ อันนี้เป็นกรณีที่พบในคนผิวเขาประมาณร้อยละ ๑๕ แต่ในคนเชื่อชาติจีนจะพบน้อยมาก (ร้อยละ ๐.๐๓) ส่วนยีน CE นั้นมีมีหลายรูปแบบที่ทำให้เกิดแอนติเจน C/c และE/e

๏ ต่อไปต้องมาดูความสำคัญของกรณี RhD เช่น มารดาที่คลอดลูกที่ตายในครรภ์ อาจจะมีสาเหตุอื่นๆด้วย สมมุติว่ามีมารดาที่ภูมิไวเกินมีกาแทง ๑ ใน ๑ พันคน และแม่ที่เป็น RhD บวกก็มีกาแทง ๑ ใน ๑ พันคนเหมือนกัน ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับ RhD และมีสาเหตุอื่นๆ ด้วย ดังนั้นมาดูแต่กลไกระดับโมเลกุลและระดับเยื่อในร่างกายไม่พอ ต้องมาวิเคราะห์กรณีของ RhD ในประชากร

๏ กลุ่มหนักวิจัยจากสวีเดนมาสำรวจข้อมูลสตรีที่คลอดบุตรหนึ่งล้านล่าคน พร้อมกับสารภูมิต้านทานต่อ RhD และระบบเลือดอื่นๆ การติดตามถึงเวลาคลอดและผลการคลอด จากกลุ่มที่มีสารภูมิต้านทานบางคนคลอดบุตรปกติ ส่วนในกลุ่มมารดาที่ไม่มีสารภูมิต้านทานบางรายคลอดลูกที่มีปัญหาก็มี ดังนั้นหนักวิจัยมาวิเคราะห์ถ้ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการมีสารภูมิต้านทานกับคลอดปิดปกติ เขาศึกษาสองอย่าง คือ ลูกที่เกิดก่อนกำหนด และลูกที่เสียชีวิตในครรภ์โดยใช้วิธีทางสถิติคือ การถ่ายเลือดโลจิสติก เขาพบว่ามีความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่าง การพบสารภูมิต้านทาน กับคลอดลูกที่เสียชีวิตในครรภ์ และกาคลอดลูกก่อนกำหนด ดังนั้นเขาเสนอที่มารดาที่พบสารภูมิต้านทานต่อ RhD (หรือระบบอื่ๆที่เขาศึกษา) ควรรับ anti-D แต่ในขณะเดียวกันควรวิเคราะห์ยีนของมารดาและบิดาด้วย

๏ ในปัจจุบันนี้มีวิธีวิเคราะห์ยีนของทารกในครรภ์โดยไม่ต้องนำเยื้อจากสายสะดือ หรือไม่ต้องเก็บน้ำคร่ำ เพราะมีวิธีที่สามารถตรวจดีเอ็นเอของทารกที่ลอยในกระแสเลือดของมารดาได้

๏ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการศึกษาของสวีเดนตรวจล้านกว่าคนเป็นการศึกษาเดียวในพื้นที่เดียวของโลก ยังมีคนที่พบรูปแบบใหม่ของยีน RhD ที่เกี่ยวข้องกับโรคเม็ดเลือดแดงแตกพบอย่างต่อเนื่อง มีนักวิจัยที่พบการกลายพันธุ์ของยีน และมีโรงพยาบาลที่เก็บข้ามูลประวัติตั้งครรภ์พร้อมกับผลการกคอดเหมือนกัน อาจจะเขาเขียนบทความที่อธิบายสิ่งที่เขาพบ ที่หลังอาจะมีนักวิจัยที่มาสำรวจอ่านบทความต่างๆ และอาจะเขาเขียนบทปริทัศน์ด้วย หรือเขียนบทปริทัศน์ซึ่งเป็นระบบ เช่น Cochrane Review อันนี้เป็นกระบวรการดำเนินงานวิจัยปกติ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาพอสมควรต้องมีวิธีที่เร็วกว่านี้ที่สามารถติดตาการกลายพันธุ์ที่พบมาอย่างต่อเนื่องและเร็ว วิธีนี้คือระบบการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เป็นระบบที่เก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และมีวิธีเก็บข้อมูลเป็นระบบ เพื่อวิเคราะห์และติความข้อมูลด้านสุขภาพ ระบบสามารถเครื่องกรองและบูรณาการข้อมูลที่สำคัญ และแพรข้อมูลโดยเร็วให้ผู้ที่จะใช้ คือบุคลคนสาธราณาสุข แพทย์ พยาบาล และนักวิจัย นิสิตแพทย์ ฯลฯ (www.cdc.org)

๏ ในกรณีของ RhD มีฐานข้อมูล RhesusBase ที่ทำหน้าที่การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา เป็นระบบการเฝ้าระวังเชิงรับ คือ โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยส่งข้อมูลเอง และมีการรายงานโดยความสมัครใจ คือผู้ที่มีข้อมูลและเห็นสมควร จะส่งเอ็งโดยไม่มีใครขอส่งมา ส่วนเกณฑ์คัดอาสาสมัครเขาระบบมีหลายข้อ อาทิ เหตุการต้องเป็นผู้มี RhD บวก หรือไม่สามารถแยกออกแอนติเจน D หรือลำดับนิวคลีโอไทด์เฉพาะเจาะจงของ RhD ผู้ในเหตุการณ์มีสารภูมิต้านทาน anti-D หรือไม่สามารถแยกออก anti-D ได้ เหตุการณ์ต้องระบุข้อมูลของผู้ป่วย โดยมีเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงข้อมูลซ้ำ เช่น เขียนชื่อต่างกันอาจจะถือเป็นสองร่าย นอกจากนี้ต้องระบุ เมือง ประเทศ และที่อยู่อย่างสมบูรณ์ พร้อมกับประวัติการรับเลือด ประวัติตั้งครรภ์ด้วย ดังนั้นระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาสามารถเก็บข้อมูลอย่างเร็ว

๏ มีข้อมูลจากประเด็นสุขภาพที่กำลังเกิดอยู่และทันสมัยก็ดี แต่ยังต้องมีคนมาดูและคิดวิธีที่จะใช้ข้อมูลดังก่ลาวเพื่อเป็นประโยชน์ด้วน ต้องมากำหนดจะใช้ข้อมูลอย่างไร ในขณะเดียวกันในโรงพยาบาลหลายแห่ง ซึ่งอาจจะอยู่ในหลายเมือง หรือหลายประเทศมีวิธีรักษาและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจไม่เหมือนกัน สถานที่ต่างๆ อาจใช้ข้อมูลสมัยใหม่หรือไม่ ดังนั้นต้องมีวิธีที่นำข้อมูลมาร่วมกัน ทั้งข้อมูลทางวิจัย ข้อมูลวิธีรักษาต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำเอามาใช้ เช่นในกรณีข้อง RhD ต้องมีวิธีระบุว่าจะให้มารดา RhD ลบ สารภูมิต้านทาน anti-D หรือไม่ จะให้เมื่ออะไร ก่อนหรือหลังคลอดลูก จะให้เท่าไร เป็นต้น วิธีที่จะชี้แนวทางทางการรักษาคือ เอกสารแนวปฏิบัติทางคลินิก เอสารนั้นท่าน วท.บ. อารี ชีเกษมสุข นิยามว่าเป็น
ข้อความที่จัดทำอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับภาวะใดภาวะหนึ่ง
ขณะเตรียมเอกสารแนวปฏิบัติทางคลินิกจะมีขั้นตอนเข้มงวด เช่น มีข้อจำกัดจะทบทวนวรรณกรรมวิจัยอะไรบ้าง และจะนำข้อมูลอย่างไร เป็นต้น เป็นเกณฑ์ที่กำหนดโดยเครื่องมือ AGREE II เอกสารแนวปฏิบัตินั้น ทำโดยทีมงานประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และผู้เชียวชานทางวิจัย ต้องระบุวันที่จะหมดอายุ และต้องปรับหลังจากระยะนั้น ตัวอย่างของเอกสารแนวปฏิบัติทางคลินิกเกี่ยวกับ RhD มีของสหราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๖ และของประเทศออสเตรเลีย ๒๕๕๗ เป็นต้น ๚



วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561

วิธีมองจริยธรรม

๏ เรื่องของจริยธรรมเป็นเรื่องที่คนไม่เข้าใจกันและไม่ตกลงกัน จริยธรรมหมายความว่าสิ่งที่ ฉัน ควรทำในสภาวะใดๆ เป็นเครื่องที่ช่วย ฉัน ตัดสินใจ จริยธรรมนั้นไม่ใช่สิ่งที่ เขา คนอื่นควรทำหรือไม่ควรทำ ตัดสินใจไม่เหมือนกฎหมายที่กำหนดสิ่งที่คนควรทำหรือไม่ทำ อย่างไรก็ตามที่คนไม่เข้าใจกันและไม่ตกลังกันไม่หมายถึงว่า ทำอะไรก็ได้แล้วแต่อำเภอใจ ตัดสินใจไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แม้ว่าเราตัดสินใจสำหรับเราเอง

๏ ปัญหาคือมีหลายวิธีมองจริยธรรม อาจารย์บราดี้ในตำราของอาจารย์พรีชาร์ดแนะนำจัดความเห็นต่างๆ ในสามกลุ่ม อาทิ ๑. คนที่ถือผู้ทำเป็นสำคัญ ๒.คนที่ถือการกระทำเป็นสำคัญ และ ๓. คนที่ถือผลประโยชน์ของการกระทำเป็นสำคัญ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่คนไม่เข้าใจกัน เพราะเขามองคนละประเด็น จงมาดูสามกลุ่มความคิดต่อไป

๏ ในกลุ่มที่หนึ่งคนมองลักษณะของผู้ทำ มีนิสัยอะไร มีวิธีชีวิตอย่างไร คนนั่นจะเป็นคนตัวอย่าง แต่สิ่งที่เขาทำไม่วิเคราะห์หรือไม่สำคัญ ความเห็นแบบนี้พบในจริยธรรมของนักปราชญ์กรีกสมัยโบราณอาริสโตเติล

๏ ในกลุ่มที่สองคนไม่มองลักษณะของผู้ทำ แต่มองการกระทำเป็นหลัก มีการกระทำที่ไม่ควรทำไม่ว่าใครทำก็ผิด ความเห็นนี้พบในจริยธรรมของนักปราชญ์เยอรมันอิมมานูเอล คานต์

๏ เขาดำเนินชีวิตสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คานต์ถือว่า การกระทำที่ถูกต้องต้องเป็นการกระทำที่สามารถเป็นกฎเกณฑ์สากล (Kategorische Imperativ) เช่น การหนีภาษีเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง (แล้วแต่คานต์) เพราะว่าเป็นการกระทำที่ไม่สามารถเป็นกฎสากล ถ้าทุกคนหนีภาษีไม่มีใครเสียภาษีรัฐบาลอยู่ไม่ได้ ไม่มีเงินสร้างถนน เป็นต้น

๏ ในกลุ่มที่สามคนจะเน้นผลของการกระทำ เช่น จริยธรรมของนักปราชญ์อังกฤษ จอห์น สจ๊วต มิลล์ เขาเขียนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิลล์ถือว่าการกระทำที่ถูกต้องคือ สิ่งที่เพิ่มความสุขของหลายคน แม้ว่าหนึ่งคนต้องลำบาก ถ้าหมู่โดยร่วมเพิ่มความสุข การกระทำนั้นถูกต้อง

๏ ส่วนพุทธจริยธรรมแล้วแต่พระอภิธรรมดูเหมือนกันที่จะอยู่ในกลุ่มที่สองคือ มองการกระทำเป็นหลัก โดยเฉพาะจิตของผู้ทำขณะที่กำลังทำอะไร ถ้าจิตประกอบด้วย โลภะ โทษะ หรือโมหะ การกระทำนั่นถือไม่เป็นกุศล เช่นสมมุติว่ามีคนตกลงไปเที่ยวกับเพื่อน เดี๋ยวมีสาวโทรมาอยากพบ แล้วเขาจะไปบอกเพื่อนจะไม่ไป การกระทำนี้มีจิตที่ประกอบด้วยโลภะ คืออยากพบสาว ตัวอย่างที่สองคือหัวหน้าไม่พอใจกับงานลูกจ้างอยากให้ลาออก ทั้งที่จะแนะนำวิธีทำ ต่อไปโกรธด่าลูกจ้าง ในการกระทำนี้มีโทษะ หัวหน้าไม่สามารถมองความจริง และทำประโยชน์ให้บริษัท มีแต่ปล่อยอารมณ์ การกระทำนี้ไม่กุศล แต่ต้องยอมรับที่พุทธจริยธรรมนั้นมีหลายๆ สำนัก อย่างอธิบายโดยท่าน พระมหาพรชัย สิริวโร

๏ ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมควรศึกษาวิชาอภิจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ศึกษาความหมายของศัพท์ทางจริยาศาสตร์ ศึกษาลักษณะข้อเสนอทางจริยธรรม ทัศนคติ และการตัดสินใจชนิดต่างๆ ๚

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

ตำราระบบต่อมไร้ท่อเล่มใหม่

วิชาต่อมไร้ท่อเป็นวิชาที่ซับซ้อนพอสมควร เพราะต้องอาศัยความรู้ระบบของร่างกายหลายระบบ เช่น ระบบประสาท ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบการเดินอาหาร ฯลฯ วิธีเรียนส่วนใหญ่มีสอนวิธี คือ เรียนระบบต่างๆ ก่อน และเรียนระบบต่อมไร้ท่อที่หลัง เพื่อจะนำความรู้มาบูรณาการและสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ แต่วิธีนี้มีปัญหาที่ผู้เรียนอาจจำการทำงานของอวัยวะบางอวัยวะไม่ได้ เพราะเรียนมานานแล้ว

ส่วนผู้เป็นครูอาจารย์อาจสงสัยทำไมเป็นแบบนี้ ดูเหมือนกับว่าปัญหาอยู่ที่ผู้เรียน ขณะเรียนระบบหนึ่งคงไม่ได้สังเกตเห็น ความเกี่ยวข้องกับระบบอื่น เช่น เมื่อเรียนระบบประสาท นิสิตอาจได้ยินศัพท์ OVLT หรือ subfornical organ หรือ median eminence แต่ขณะนั้นยังไม่ได้เห็นความสัมพันธ์ก๊าซในเลือด ความดันออสโมซิส หรือการไหลเวียนโลหิต เพราะขณะเรียนระบบประสาทยังไม่ได้ใส่ใจกับการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตและการหายใจ

วิธีเรียนอีกวิธีหนึ่งคือ เรียนต่อมไร้ท่อก่อนและฮอร์โมนชนิดต่างๆ โดยชี้ความสัมพันธ์กับการทำงานของอวัยวะอื่นๆ แม้ว่าผู้เรียนอาจจะยังไม่เข้าใจอย่างละเอียด วิธีนี้จะช่วยให้นีสิตตื่นตัว เตรียมพร้อมไว้เพื่อสังเกตสิ่งที่ต้องเรียนต่อ เช่น นิสิตเรียนต่อมไร้ท่อเสร็จแล้วเข้าเรียนไต จะสังเกตที่วิตามินดี สร้างที่ผิวหนัง ถูกปรับที่ตับและไต ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ แต่มีผลสุดท้ายทั้งที่ไตและกระดูก เป็นต้น

ตำรา กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาระบบต่อมไร้ท่อ ของ ผ.ศ.ดร. พรรณี หนูซื่อตรง และ ผ.ศ.ดร. อรพิน เกิดประเสริฐ ได้อธิบายการทำงานของร่างกายโดยรวม มี ๙ บท อธิบายฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกายใน ๑๕๐ หน้า เหมาะสำหรับผู้เริ่มเรียนระบบต่อมไร้ท่อ อ่านรอบแรกในหนึ่งสัปดาห์ได้ หลังจากอ่านบทนำที่แนะนำฮอร์โมนสำคัญและกลไกออกฤทธิ์แล้ว บทที่ ๒ อธิบายหน้าที่ของไฮโพทาลามัสและต่อมไต้สมอง ซึ่งบทนี้เป็นบทที่สำคัญที่สุดของเล่ม ควรอ่านอย่างละเอียดและควรอ่านมากกว่าหนึ่งรอบ ต่อไปบทที่ ๓ อธิบายการทำงานของต่อมไพเนียล บทที่ ๔ เล่าถึงต่อมไทรอยด์ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์มีความสำคัญในการปรับอัตราเมแทบอลิสึมพื้นฐานของร่างกาย และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้อง เช่น ตับ หัวใจ ไขมัน เป็นต้น บทที่ ๕ นอกจากพรรณนาต่อมพาราไทรอยด์อย่างละเอียดแล้ว ยังอธิบายการควบคุมปริมาณแคลเซียมในร่างกาย พร้อมกับวิตามินดีและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง

บทที่ ๖ เล่าถึงต่อมหมวกไต อธิบายฮอร์โมน ACTH (ต่อมใต้สมอง) และคอร์ทิซอล และบรรยายสภาวะตึงเครียดและกลุ่มอาการขแง Cushing นอกจากนี้ยังอธิบายถึงฮอร์โมนแอลโดสเตโรนและการรักษาสมดุลน้ำของร่างกาย และมีส่วนสั้นๆ ที่อธิบายถึงฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนด้วย ต่อไปบทที่ ๗ ซึ่งมีชื่อ ไอสเล็ตส์ออฟแลงเอร์ฮานส์ อธิบายถึงฮอร์โมนที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือด อาทิ อินซูลิน และ กลูคากอน และฮอร์โมนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร ผู้เรียนควรเก็บความรู้เหล่านี้ไปใช้ขณะที่จะเรียนระบบการเดินอาหาร บทที่ ๘ พรรณนาฮอร์โมนต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้พบในตำราพื้นฐานที่แต่น่าสนใจ เช่น ฮอร์โมนของต่อมไทมัส เลปทิน สารไอโกซานอยด์ เป็นต้น

บทสุดท้าย คือบทที่ ๙ เป็นบทที่น่าสนใจมาก เป็นบททบทวนความรู้ มีกรณีศึกษาทางคลินิกสามกรณีเพื่อมาวิเคราะห์พร้อมกับคำเฉลย สำหรับทบทวนความรู้ตำรายังประกอบกับแผ่นซีดีมีรูปภาพและการสอบแบบสอบปรนัย

บทที่ ๑-๘ ทุกบทอธิบายการเจริณและพัฒนาการของต่อม พร้อมกับพรรณนาลักษณะทางด้านกายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์ด้วย (มิญชวิทยา) และอธิบายกลไกการทำงานของฮอร์โมนในระดับอนุชีววิทยาได้อย่างเหมาะสมสำหรับผู้เริ่มเรียน

ถ้าจำเป็นต้องชี้จุดอ่อนเพื่อให้บทวิจารณ์มีความเชื่อถือ ต้องยอมรับว่าตำราเล่มนี้ยังขาดในเรื่องฮอร์โมนสเตรอยด์และฮอร์โมนเพศ แม้ว่าได้อธิบายบางส่วนในบทที่ ๖ (ต่อมหมวกใต) ซึ่งน่าที่จะมีบทโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ต่าม ตำราของ ผ.ศ.ดร. พรรณี และ ผ.ศ.ดร. อรพิน เมาะสมสำหรับผู้เริ่มเรียน และผู้ที่อยากเศึกษาระบบต่อมไร้ท่อโดยรวมอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ทบทวนความรู้และอยากมองวิชนี้อย่างทันสมัย






วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบกลิมฟาทิก

เวลาฝนตกถนนเปียกมดเลย โชคดีที่เมืองใหญ่ๆ มีระบบระบายน้ำไม่ให้น้ำท่วม ร่างกายเหมือนกันมีระบบเก็บน้ำเหลือง นำน้ำออกจากเนื้อเยื่อ ส่วนสมองเป็นอวัยวะเต็มน้ำอยู่แล้วมีระบบรักษาปริมาณน้ำ ปริมาณน้ำที่เข้าในสมองมีเท่ากับปริมาณออก ระบบกลิมฟาทิกที่จะพรรณนาต่อไปมีน้าที่รักษาปริมาณน้ำและนำของเสียออกจากสมอง มันสมองเป็นอวัยวะที่ลอยในสิ่งของเหลวหรือน้ำหล่อเลี้ยงสมอง ลอยเหมือนเรือที่จอดไว้ที่ท่าเรือ ลอยได้แต่ไปไกลไม่ได้ เชือกที่มัดที่ท่าเรืออุปมาเหมือนเส้นใยละเอียดในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (trabeculae) ที่ติดกับกะโหลก ขณะเราวิ่งหรือออกกำลังกายสมองไม่ได้กระทบกับหัวกะโหลก (นอกเว้นที่ชกมวยแย่งรุนแรง) เพราะเชือกดังกล่าว

 น้ำหล่อเลียงสมองถมช่องใหญ่หรือโพรงภายในสมองด้วย โพรงสมองมี ๔ โพรง น้ำหล่อเลี้ยงสมองหลั่งจากพื้นที่โพรงด้านข้างทั้งสอง โพรงที่ ๓ และโพรงที่ ๔ โพรงด้านข้างเชื่อมกับโพรงที่ ๓ จากนั้นน้ำหล่อเลี้ยงสมองไหลทางท่อน้ำแขบ ไปถึงโพรงที่ ๔ ซึ่งที่นั้นมีรู ออกจากก้านสมองด้านกลาง และด้านข้าง ดั้งน้นน้ำที่หลั่งภายในสอมงล้างพื้นที่ด้านในอยู่แล้วไปถึงด้านนองสมอง นอกจากนี้ระหว่างสมองและกะโหลกมีที่เก็บน้ำชั่งคราวหรือชลาธาร (cisterna) หลายแห่ง หลังจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองออกทางรูที่ก้านสมองแล้วจะมาสะสมชั่วคราวที่มหาชลาธาร (cisterna magna) และชลาธารไข่สันหลัง (cisterna medularis) ต่อไปจะไปสะสมที่ชลาธารหลายแหฟ่ง (*) ไปถึ้ด้านหน้าของสมองด้วย () ถึงที่จะไปถึงจุดสูงสุดของสมองใต้กะโหลก ที่นั้นน้ำหล่อเลี้ยงสมองจะออกนอกเยื่อหุ้มสมองร่วมกับเลือดดำ

เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยสามชั้น ชั้นที่ติดกับสมองบอบบางมาก ชั้นกลางมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม เต็มน้ำหล่อเลี้ยงสมองและมีหลอดเลือด ชั้นนอกหรือเยื่อทุรามีลักษณะทุระหรือแข็งประกอบด้วยเส้นใยชนิดหนา ในจุดสูงสุดของสมองเยื่อชั้นกลางจะทรงรูปเป็นตุ้มที่บวมออกจากเยื่อชั้นนอก เซลล์ในผิวหนังตุ้มนี้สามารถนำน้ำหล่อเลี้ยงสมองออกไปช่องบนที่สะสมเลือดนอกสมอง ตุ้มทำงานเหมือนกับลิ้นเปิดปิด ขณะความดันอุทกสติตถึงระดับพอสมควร (ประมาณ ๗ ซ. น้ำ) ลิ้นจะเปิด เปิดแล้วจะให้น้ำหล่อเลี้ยงสมองออกและร่วมกับเลือดดำที่จะกลับหัวใจ จะเห็นว่า น้ำหล่อเลี้งสมองไหลตลอดและล้างพื้นที่สมองทั้งพื้นที่ด้านในและด้านนอก นอกจากนี้น้ำหล่อเลี้ยงสมองเก็บที่เยื่อหุ้มเส้นประสาทสมอง จากนั้นเข้ามาร่วมน้ำเหลืองโดยตรง คือไม่ต้องร่วมเลือดดำก่อน

สมองนอกจากจะมีน้ำหล่อเลี้ยงสมองที่ทราบนานๆ แล้ว ยังมีระบบอื่นมีหน้าที่ล้างเนื้อเยื่อแท้อวัยวะด้วย คือระบบกลิมฟาทิก (glymphatic) คงไม่ได้ยินคำนี้เมื่อก่อน เพราะว่าระบบกลิมฟาทิกเพิ่งจะศึกษามา ถึงแม้ว่าสมองไม่มีน้ำเหลืองแท้ แต่น้ำในบริเวณระหว่างเซลล์กับเซลล์เกลียทำหน้าที่แทน ดั้'นั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ศึกษาตั่งศัพท์ใหม่ ระบบกลิมฟาทิก (Iliff และคณะ, 2012)

ระบบกลิมฟาทิกนิยามว่า วิถีนอกหลอดเลือดสำหรับแลกเปลี่ยนสารและขับทิ้งของเสียออกจากสมองที่ใช้น้ำหล่อเลี้ยงสมองและน้ำระหว่างเซลล์ หลอดเลือดในสมองมีผนังรอบๆ ประกอบด้วยปลายแขนของเซลล์แอสโทรไซต์ต่างๆ ที่เป็นเหมือนอิฐของผนัง ปลายแขนมีรูปเท้าและจะติดกันอย่างสนิท ผนังทำให้สารออกจากหลอดเลือดและเข้าในสมองยาก นอกเว้นสารละลายในไขมันได้ สารที่มีโปรตีนขนส่งจำเพาะ หรือเป็นสารที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์อย่างง่าย เช่น แกสออกซิเจน แกสคาร์บอนไดอ็อกไซด์ และแกสยาสลบบางชนิด เป็นต้น นอกจากนี้เซลล์แอสโทรไซต์มีโปรตีนขนส่งน้ำชนิด AQP4 ทำให้น้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ง่ายๆ เนื่องจากหลอดเลือดแดงมีความดันอุทกสติตสูง น้ำออกจากผนังรอบหลอดเลือดแดงมากๆ น้ำที่ออกแล้วจะไหลทางเนื้อเยิ่อถึงหลอดเลือดดำในบริเวณใกล้ชิด ซึ่งมีผนังด้วยปลายเซลล์แอสโทรไซต์เหมือนกัน ส่วนความดันภายในหลอดเลือดดำต่ำ ทำให้น้ำเข้าในกระแสเลือดอย่างอิสระ จะเห็นว่า ระหว่างหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดแดงมีกระแสงน้ำไหลตลอดเวลา กระแสน้ำนำสิ่งของและของเสียลอยไปที่บริเวณหลอดเลือดดำ ซึ่งมีโครงสร้างพิเศษคือ รูป่เท้าปลายเซลล์แอสโทรไซต์ติดกับหลอดเลือดดำ แต่มีช่องว่างขนาดประมาณ ๒๐ นม. เรียกว่า ช่องแห่งฟีร์โกว์และโรบิน (Virchow-Robin) น้ำสามารถเข้าในช่องนี้ได้ ขณะน้ำไหลจากหลอดเลือดแดงถึงหลอดเลือดดำนำสิ่งของไป ไม่ว่าจะเป็นโมเลกูลเบาหรือหนักจะลอยไปพร้อมกัน ไม่เหมือนกับกระบวนการการกระจัดกระจายที่น้ำอยู่ในที่และสิ่งของแพรกระจ่ยแล้วแต่น้ำหนัก อย่างไรก็ตาม สารและของเสียสะสมในบริเวณหลอดเลือดดำแล้ว เข้าในช่องแห่งฟีร์โกว์และโรบิน โมเลกูลขนาดใหญ่เช่น เพปไทด์ β-amyloid เข้าไปได้
ระบบกลิมฟาทิกมีคนศึกษาอย่างต่อเนื่อง ศึกษาในสัตว์ทดลองและศึกษาเชิงคลินิกในมนุษย์ ในหนูทดลองประมาณร้อยละ ๗๕ ของของเสียจะออกทางระบบกลิมฟาทิก

วิธีศึกษาระบบกลิมฟาทิกใช้โมเลกุลสีเรืองแสงขนาดเล็ก ละลายในน้ำเกลือและฉีดเข้าสมอง ในการศึกษาหนึ่ง ฉีดภายในมหาชลาธารแลพโพรงด้านข้างมาเปรียบเทียบ ฉีดสีในโพรงด้านข้างไม่ได้เห็นเข้าในเนื้อเยื่อแท้ หมายความว่า น้ำหล่อเลียงสมองที่อยู่ในโพรงออกทางรูทั้งสามในแขนสมองอย่างเดียว ไม่ได้เข้าในเนื้อเยื่อ ขณะที่ฉีดสีทีมหาชลาธารได้เห็นสีที่กระจายไปเนื้อเยื้อแท้ โดยเฉพาะในบริเวณรอบหลอดเลือด ถ้าใช้โมเลกุลสีขนาดเล็กเข้าในเนื้อเยื้ออย่างเร็ว สรุปแล้วน้ำหล่อเลียงสมองสามารถไหลเวียนรอบสมองและเข้าในเนื้อเยื่อแท้ด้วย มีการศึกษาอื่น (Xie และคณะ 2013) เขาพบว่า ขณะหนูทดลองนอนหลับน้ำหล่อเลียงสมองการไหลเพิ่มมากขึ้นร้อยละ ๖๐ ส่วนเวลาตื่นไหลช้าลง เหมือนกับเวลานอนสมองทำความสะอาดตัวเอง

สมองของเรา แม้ว่าไม่มีหลอดน้ำเหลือง แต่มีน้ำหล่อเลี้ยงสมองที่ไหลเวียนตลอดเวลา และน้ำระหว่างเซลล์ไหลจากหลอดเลือดแดงไปถึงหลอดเลือดำ เข้าไปในช่องระหว่างผนังแอสโทรไซต์และนำของปฏิกูลออกจากมันสมอง

หมายเหตุ
* c. interpeduncularis, c. laminae tecti, c. fisurae transversalae, และ c. venae cerebri magnae
c. chiasmus และ c. interpeduncularis

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเรียนรู้ที่มองไม่เห็น

การวิเคราะห์การศึกษาจำเป็นต้องนึกถึงสังคมในอนาคตที่ผู้เรียนจะดำเนินชีวิต เช่น ผู้สอนรุ่นเก่าได้สอนวิธีคิดเลข โดยไม่รู้ว่าภายหลังจะมีเครื่องคิดเลข เป็นต้น ขณะนี้อาจมีบางคนที่พยายามคาดเดาอนาคตเพื่อพัฒนาการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการสังคมผู้เรียนรู้จาริก (Knowmad society) เขาพยายามหาลักษณะของสังคมในอนาคตและชี้ทักษะการดำรงชีพที่เหมาะสม ซึ่งภายหน้าอาจจะมีผู้รู้ที่เรียกว่า ผู้เรียนรู้จาริก (knowmad ศัพท์ใหม่) เป็นผู้ที่สามารถหาความรู้ด้วยตัวเองได้ เรียนรู้ได้ ลืมของเก่าได้ เขาจะมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้เป็นผู้ที่มีความสามารถทำงานในสังคมและวัฒนธรรมต่างๆได้ มีทักษะทางภาษา สังคมในอนาคตจะเป็นสังคมประเภทที่สาม ซึ่งอาศัยความรู้มากขึ้น ไม่เหมือนกับสังคมที่อาศัยผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรม ที่เรียกว่าสังคมประเภทที่ ๑
ส่วนสังคมผู้เรียนรู้จาริกได้อธิบายไว้ในหนังสือสองเล่ม เล่มที่หนึ่งเขียนเป็นภาษาสเปนใน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีชื่อว่า “การเรียนรู้ที่มองไม่เห็น” (Aprendizaje invisible, pdf) และอีกเล่มหนึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษมีซื่อ “สังคมจาริก” (Knowmad society) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ทั้งสองเล่มนี้มีเนื้อหาคล้ายกัน ในเล่มที่สองจะเน้นนวัตกรรมทางด้านการศึษาที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนเล่มแรกจะเขียนเน้นนวัตกรรมในประเทศที่ใช้ภาษาสเปน เช่น โครงการเฟสบุ๊ก (Projecto Facebook) ในประเทศอาร์เจนตินา (๒๕๕๑) และแพนการเซยบัล (Ceybal project) ในสาธารณรัฐอุรุกวัย (๒๕๕๒)
หนังสือทั้งสองเล่มนี้ชี้ทักษะของผู้เรียนรู้ในอนาคต ส่วนที่ต่างกันในเล่มที่สอง เล่มใหม่เรียกว่าทักษะอ่อน (soft skills) ส่วนเล่มเดิมเรียกว่าสมารถภาพทางด้านมนุษยาศาสตร์ (habilidades humanistas) เสียดายที่ส่วนนี้ไม่มีในเล่มใหม่ เพราะมีความน่าสนใจและน่านำมาวิเคราะห์ด้วย สามารถภาพดังกล่าวมีทั้งหมด ๑๒ ข้อ ได้แก่
  1. คิดเป็นระบบ
  2. คิดแบบสมมุติว่าเป็นอย่างนั้น
  3. สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปหรือไม่มั่นคงได้
  4. สามารถสร้างสรรค์และวิเคราะห์สภาพอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่ต่างกัน
  5. ตั้งเป้าหมายและตอบสนองต่อการท้าทายได้
  6. เข้าใจข้อมูลที่มีอยู่และนำมาใช้ได้
  7. สร้างความรู้ระดับบุคคลด้และนำมาใช้
  8. สร้างความรู้เกี่ยวกับบริบท กระบวนการ และวัฒนธรรมและนำมาใช้
  9. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
  10. หาความรู้และวิเคราะห์ความรู้แนวโน้มทางโลกภิวัตได้
  11. พูดและเขียนอย่างพึ่งตนเอง
  12. ตั้งใจที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฉบับ แนะนำทักษะของผู้เรียนสมัยใหม่ ที่อาจจะเป็นการเรียนรู้ที่ไม่เป็นระบบ ทั้งนี้ไม่จำเป็นที่ต้องปฏิรูปการศึกษา เพราะว่าทักษะดังกล่าวจะเรียนได้จากในพื้นที่ต่างๆ เรียนจากเพื่อน เรียนนอกห้องเรียน เรียนจากเครือข่ายทางสังคม เรียนในขณะเดินทาง เป็นต้น ผู้เรียนรู้จาริกสามารถพัฒนาตัวเองกับเพื่อนและช่วยเพื่อนได้ เปลี่ยนประเด็นเรียน โดยที่บางครั้งผู้เรียนอาจจะเปลี่ยนเป็นผู้สอนได้

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการการศึกษาลาว

การศึกษาในประเทศลาวได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะปัจจุบัน ขณะศึกษาประวัติศาสตร์บางที่เน้นการเมืองและการปกครองมากถึงที่ไม่ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของความรู้และการถ่ายทอดความรู้

ต้องยอมรับที่สมัยก่อนเมืองลาวไม่มีรูปแบบปัจจุบัน สถาบันการศึกษาคือ วัด เด็กชายที่บวชเป็นสมาเณรได้โอกาสรู้อักษรและเรียนหลักศาสนา ส่วนเด็กหญิงคงไม่ได้เรียน ไม่ต้องแปลกใจที่สมัยก่อนผู้หญิงและผู้ชายมีบทบาทในสังคมที่ต่างการ ความจริงไม่ควรใช้เกณฑ์ปัจจุบันเพื่อพิพากษาอดีต อย่างไรก็ตาม ที่หลังสมัยฝรั่งเศสมาปกครองพื้นที่ เขาได้ตั้งโรงเรียนและพิมพ์หนังสือ หนังสือประถมศึกษาเป็นภาษาลาวออกมาครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๓ และหนังสือระดับมัธยมศึกษาติดตามมาในปีต่อไปพร้อมกับการเปิดโรงเรียนโดยออกุสต์ ปาวี (Aguste Pavie) ข้าหลวงใหญ่ของฝรั่งเศสประจำลาวคนแรก ต่อมาภายใน พ.ศ. ๒๔๗๕ มีนักเรียน ๗,๐๓๕ คน (เด็กหญิง ๙๗๖ คน) ที่เข้าศึกษาอยู่ในโรงเรียนรัฐบาล กลุ่มนักเรียนเหล่านี้ประกอบด้วยเด็กลาวชนเผ่าต่างๆ และเด็กเวียดนาม

หลังจากมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ตั้งคณะกรรมการวรรณคดี (Comité-littéraire du Laos) ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ (ຮາດສະພະບັນດິດ, Académie Royale du Laos) ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ องค์กรมีเป้าหมายทำให้ภาษาลาวทันสมัยและพัฒนาศัพท์ใหม่ทางด้าน นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฟิสิกส์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ชีววิทยา ฯลฯ เช่น ศัพท์ ธาตุเหลือง (ດາດເຫຼືອງ, corpus luteum) ที่ใช้ในหนังสือนักเรียนถึงปัจจุบันนี้ เป็นศัพท์ที่ประดิษฐ์ใหม่

ในทศวรรษ ๒๕๑๐ ลาวได้เห็นกิจกรรมทางด้านวีชาการเพิ่มมากขึ้น ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ วารสาร Mittasone เร่มออกมา ต่อไปใน พ.ศ. ๒๕๑๓ วารสารภาษาฝรั่งเศส Bulletin des Amis du Royaume Laos ติดตามมาด้วยบทเกี่ยวกันเรื่องต่างๆ และใน พ.ศ. ๒๕๑๖ ออกฉบับพิเศษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศลาว วารสานอื่นๆ ติดตามมา เช่น วารสารไผ่หนาม (ໄຜ່ໜາມ พ.ศ. ๒๕๑๕) ซึ่งมีบทความเกี่ยวกับวรรณคดีและประวัติศาสตร์ โดยการการแนะนำของนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ มหาศีลา วีรวงศ์ (ມະຫາສີລາ ວີຮະວົງ) ต่อไปมีวารสาร นาง เป็นวารสารแรกในลาวที่มาอภิปรายเรื่องที่เป็นความสนใจของผู้หญิง และใน พ.ศ. ๒๕๑๔ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรกในลาวออกมา (Vientiane Times) ออกมา

หลังจากตั้งสาธารณรัฐประชาชนลาวหรือ สปป. ลาว ถึงปัจจุบันนี้การศึกษาอย่างต่อเนื่อง ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ออกวารสารอัปเดต (ອັບເດດ) ตอนนี้นอกจากฉบับพิมพ์ยังมีฉบับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเฟซบุ๊ก ที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประเทศลาวได้เปิดมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ซึ่งในปัจจุบันนี้มีคณะ ๑๑ คณะ พร้อมกับโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง
Evans, G (2012) A short history of Laos: The land in between, Silkworm books, Bangkok

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑

อุดมศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสอดคล้องกับการพัฒนาของโลก สมัยก่อนเราใช้ตลับเทปเพื่อบันทึกเสียง อาจเป็นเพลงหรือการพูดคย ส่วนตอนนี้เราใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต วิธีการเรียนเปลี่ยนไป ซึ้งมีผลกระทบต่อเนื้อความที่เรียน เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อบันทึกข้อมูลช่วยเรียนภาษาต่างประเทศอได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม เพือพัฒนาอุดมศึกษาต้องกำหนดเป้าหมายหรือรูปแบบของสภาวะที่อยากให้เกิดขึ้น และต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับโลกปัจจุบันและความเป็นมา

แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ ที่ประกาศปีที่แล้ว กำหนดการพัฒนาในระยะเวลา พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ แผนการประกอบด้วยเป้าหมายสำคับสองด้าน อาทิ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กับการเข้าร่วมในประชาคมอาเซียน

ประการที่หนึ่งของแผนการอุดมศึกษาคือ นำการศึกษาแล้วแต่มุมมองเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ให้สังคมพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องอาศัยกับทรัพยากรที่มีปริมาณจำกัดหรือทรัพยากรที่กำลังจะหมดลง ดังนั้นเป้าหมายหนึ่งของแผน จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถแก้ปัญหาของประเทศ นอกจากนี้สามารถตอบสนองต่อสภาวะวิคฤตได้  คือต้องเป็นผู้ที่คิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น ตลอดจนผู้สำเร็จอุดมศึกษาจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้ ดังนั้นแผนจะเน้นการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติแลเน้นวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทฤษฎีจุดมุ่งหมายที่จะประหยัดทรัพยากร ดังนั้นแผนการอุดมศึกษาจะบูรณาการการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอาชีวศึกษากับอุดมศึกษา

ประการที่สองของแผนการอุดมศึกษาคือ ให้ผู้สำเร็จอุดมศึกษาสามารถแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้ ข้อนี้หมายถึง ผู้สำเร็จอุดมศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาสามารถไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน สามารถร่วมมือกับชาวต่างชาติและทำงานด้วยกันเพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกันได้ แผนจะเน้นให้นิสิตนักศึกษาเรียนภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน (ต้องสังเกตร้านหนังสือที่กรุงเทพฯ ไม่มีตำราเรียนภาษาประเทศเพื่อนบ้าน และไม่เคยเห็นพจนานุกรม ไทย-ลาว ไทย-มลายู หรือ ไทย-พม่า คณะนีร้มหาวิทยาลัลบางแห่งได้สอนวิชา ภาษาเขมร หรือภาษาลาวอยู่แล้ว) อย่างไรก็ดี แผนยังมี “การแลกเปลี่ยนอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ” (ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ข้อ ๔.๖)  นอกจากนี้จะสนับสนุนให้จัดหลักสูตรนานาชาติ และให้จัดหลักสูตรร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต