ขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประสานงานรายวิชามีความประสงค์ให้ออกแบบที่ดี แต่บางครั้งไม่ทราบออกดีแบบอย่างไร ขณะนี้มาเล่าประสบการณ์ในออกแบบรายวิชาการแสดงออกของยีนสำหรับนิสิตปริญญาโทและเอก
อันดับแรกต้องพิจารณาเนื้อความและขอบเขตอย่างประณีต แม้ว่าได้เรียนวิชามาแล้วสมัยยังเรียนอยู่ต้องสังเกตที่ในปัจจุบันวิชาเปลี่ยนมากๆ จำเป็นต้องหาเนื้อความสำคัญและเหมาะสม
ไปห้องสมุดได้พบหนังสือสองเล่มที่น่าจะนำมาใช้เป็นตำราประจำวิชาได้ ได้แกตำราของ Benjamin Lewin และตำราของ David Latchman วิธีที่ได้พบสองเล่มนั้นคือ ไปห้องสมุดหาหนังสือวิชาการแสดงออกของยีนที่รู้จักอย่างดี เข้าไปหิ้วหนังสือเห็นที่ใกล้ชิดกับเล่มนั้นมีเล่มอื่นแต่เรื่องเดียวกัน เปิดดูและตรวจดัชนี ต่อไปเลือกสองสามเล่มยืมมาอ่านอย่างละเอียด พยายามอ่านทั้งหมดหรือเท่าที่อ่านได้ จากการอ่านตำราได้ความรู้หลักและแนวคิดสำคัญ แต่อาจไม่ทันสมัย เพราะว่าต้องสังเกตที่ผู้เขียนตำราใช้เวลาเขียนหลายปี ดังนั้นต้องเพิ่มกับบทวิจารณ์ทันสมัย ที่นี่โชคดีที่มีวารสารที่เกี่ยวข้องคือ Nature review molecular cell biology และ Current Opinion in Cell Biology ซึ่งมีฉบับพิเศษเกี่ยวกับการแสดงออกของยีนด้วย จากบทปริทัศน์ได้ความรู้สมัยใหม่และได้รู้ประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์ยังศึกษาอยู่ เพราะว่านิสิตบัณฑิตน่าจะเรียนเนื้อความทันสมัยที่นำเอามาใช้กับงานวิจัยได้
ขั้นต่อไปต้องเพิ่มความรู้ทางด้านทฤษฎีหลักสูตรและวิธีออกแบบหลักสูตร แม้ว่าได้ออกแบบรายวิชาหลายวิชาแล้ว จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ของคนอื่นด้วย คุยกับเพื่อนร่วมงานและหาเอกสารเขียน ไปห้องสมุดใช้วิธีดังกล่าวได้พบหนังสือของ H. Lynn Erickson ขณะสอนนอกจากสอนข้อเท็จจริง อ. ลิน ให้เน้นแนวคิดด้วย ส่วนในด้านอนุชีววิทยาโครงสร้างของโมเลกุลกำหนดการกระทำ เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีความสันพันธ์กันและกันระหว่างหัวข้อด้วย เป็นประเด็นสำคัญเพราะว่า ในกระบวนการการแสดงออกของยีนแต่ละขั้นตอนนั้นมีเกี่ยวข้องกับขั้นต้นอื่น ดังนั้นในกรณีที่มีผู้สอนหลายคนต้องทำให้แน่ใจอาจารย์แต่ละคนทราบว่าคนอื่นสอนอะไร ผู้ประสานงานต้องสื่อสารเป็นประจำให้อาจารย์ทุกคนทราบ บางทีอาจารย์ไม่มีเวลาฟังคำบรรยายของอาจารย์ผู้ร่วมงานด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น