ก่อนยุคอาณานิคมหนุ่มๆ อินโดนีเซียเรียนในโรงเรียนเปศานเตรฺน ที่นั้นนักเรียนได้ศึกษาศาสนาอิสลามและภาษาอาหรับ นอกจากนี้ยังได้โอกาสเรียนกฎหมายอิสลามด้วย คล้ายกับ ร.ร. ปอเนาะที่เขตชายแดนภาคใต้ สมัยเนเธอร์แลนด์มาปกครองได้ตั้ง ร.ร. แพทย์ (พ.ศ. ๒๓๔๙) และ ร.ร. วิศวกรรม (พ.ศ. ๒๔๖๓) การศึกษาเริ่มใช้ภาษาดัตช์ แม้ว่าประชากรประกอบด้วยชาวอินโดนีเซียร้อยละ ๙๖ กลุ่มนักศึกษาอินโดนีเซียมีเพียงแต่ร้อยละ ๔๓ คน ผู้อื่นมีชาวยุโรปและจีน ต้องสังเกตที่ขณะนั้นสัดส่วนชาวจีนในอุดมศึกษามีเท่ากับสัดส่วนในประชากร (ร้อยละ ๒.๕) ที่หลังสมัยญี่ปุ่นยึดครองประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๕ ห้ามใช้ดัตช์ ประกาศเสรีภาพแล้วได้ตั้งมหาวิทยาลัยชนิดทั้งโลกและทั้งศาสนา และมีมหาวิทยาลัยเอกชนติดตามด้วย ถึงที่ พ.ศ. ๒๕๔๗ นับมหาวิทยาลัยรัฐ ๔๕ แห่งและมหาวิทยาลัยเอกชน ๓๔๕ แห่ง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้อินโดนีเซียมีสถานศึกษา ๕ ชนิด ได้แก่ วิทยาลัย (sekolah tinggi สอนวิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือศิลปะ) วิทยาลัยสายอาชีพ (politekniks) วิทยาลัยสายสามัญ (akademis) วิทยาลัย (instituts) มหาวิทยาลัย (universitas) สถานการศึกษาเอกชนแม้ว่ามีจำนวนมากไม่ใช่ที่เลือกเพราะคุณภาพต่ำกว่าของรัฐ
ที่อินโดนีเซียมีการสอบเข้าอุดมศึกษาแห่งชาติ นักเรียนที่สมัครมีจำนวนมาก และมีเพียงแต่ร้องละ ๖ ของผู้สมัครที่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาของรัฐ ในกลุ่มนักศึกสาสถาบันรัฐมีนักเรียนจากครอบครัวยากจนเพียงแต่ร้อยละ ๓.๓
จากข้อมูล พ.ศ. ๒๕๓๗ ร้อยละ ๖๒.๗๕ ของแรงงานอินโดนีเซียทั้งหมดมีคุณวุฒิการศึกษาระดับ ป.๖ ส่วนจำนวนประชากรที่เข้าอุดมศึกษามีแต่ร้อยละ ๑ ประกอดด้วยอัตราส่วนผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสองเท่า คือต่างกับแนวทางตะวันตกที่ผู้หญิงไม่เข้าอุดมศึกษาเท่าที่สมควร
ประเทศอินโดนีเซียพยายาม ปฏิรูประบบอุดมศึกษาโดยนโยบาย ๒ นโยบายที่ออกมาใหม่ อาทิ กฎหมาย BHMN (Badan Hukum Milik Negara) พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งทำให้สถานอุดมศึกษาเป็นองค์กรรัฐที่บริหารและหาทุนด้วยตัวเอง และกฎหมาย BHP (Badan Hukum Pendidikan) พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นนโยบายที่ให้สถานอุดมศึกษารับนักศึกษาที่มีความสามารถแต่ไร้ทุนยังน้อยร้อยละ ๒๐ ของนักศึกษาทั้งหมด นโยบาย BHP ยกเลิกใช้วันที่ ๓๐ มินาคม ๒๕๕๓ และตอนนี้มีนโยบายกฎหมายอุดมศึกษา (Pendidikan Tinggi) ทีพิจารณาอยู่ ในนโยบายดังกล่าวจัดสถานอุดมศึกษาเป็นสามกลุ่ม ปกครองตนเอง ปกครองตนเองบางส่วน และปกครองตนเองจำกัด โดยนโยบายต่างๆ พยายามแก้ปัญหาทางด้านสังคมและเพิ่มคุณภาพอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมีประเด็นความเป็นเอกชนและการพัฒนาอุดมศึกษาเชิงพาณิชย์ที่อยู่ในสำนึกนักข่าวและนักวิชาการด้วยอินโดนีเซียด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น