ส่วนสังคมผู้เรียนรู้จาริกได้อธิบายไว้ในหนังสือสองเล่ม เล่มที่หนึ่งเขียนเป็นภาษาสเปนใน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีชื่อว่า “การเรียนรู้ที่มองไม่เห็น” (Aprendizaje invisible, pdf) และอีกเล่มหนึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษมีซื่อ “สังคมจาริก” (Knowmad society) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ทั้งสองเล่มนี้มีเนื้อหาคล้ายกัน ในเล่มที่สองจะเน้นนวัตกรรมทางด้านการศึษาที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนเล่มแรกจะเขียนเน้นนวัตกรรมในประเทศที่ใช้ภาษาสเปน เช่น โครงการเฟสบุ๊ก (Projecto Facebook) ในประเทศอาร์เจนตินา (๒๕๕๑) และแพนการเซยบัล (Ceybal project) ในสาธารณรัฐอุรุกวัย (๒๕๕๒)
หนังสือทั้งสองเล่มนี้ชี้ทักษะของผู้เรียนรู้ในอนาคต ส่วนที่ต่างกันในเล่มที่สอง เล่มใหม่เรียกว่าทักษะอ่อน (soft skills) ส่วนเล่มเดิมเรียกว่าสมารถภาพทางด้านมนุษยาศาสตร์ (habilidades humanistas) เสียดายที่ส่วนนี้ไม่มีในเล่มใหม่ เพราะมีความน่าสนใจและน่านำมาวิเคราะห์ด้วย สามารถภาพดังกล่าวมีทั้งหมด ๑๒ ข้อ ได้แก่
- คิดเป็นระบบ
- คิดแบบสมมุติว่าเป็นอย่างนั้น
- สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปหรือไม่มั่นคงได้
- สามารถสร้างสรรค์และวิเคราะห์สภาพอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่ต่างกัน
- ตั้งเป้าหมายและตอบสนองต่อการท้าทายได้
- เข้าใจข้อมูลที่มีอยู่และนำมาใช้ได้
- สร้างความรู้ระดับบุคคลด้และนำมาใช้
- สร้างความรู้เกี่ยวกับบริบท กระบวนการ และวัฒนธรรมและนำมาใช้
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
- หาความรู้และวิเคราะห์ความรู้แนวโน้มทางโลกภิวัตได้
- พูดและเขียนอย่างพึ่งตนเอง
- ตั้งใจที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น