วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ระบบกลิมฟาทิก

เวลาฝนตกถนนเปียกมดเลย โชคดีที่เมืองใหญ่ๆ มีระบบระบายน้ำไม่ให้น้ำท่วม ร่างกายเหมือนกันมีระบบเก็บน้ำเหลือง นำน้ำออกจากเนื้อเยื่อ ส่วนสมองเป็นอวัยวะเต็มน้ำอยู่แล้วมีระบบรักษาปริมาณน้ำ ปริมาณน้ำที่เข้าในสมองมีเท่ากับปริมาณออก ระบบกลิมฟาทิกที่จะพรรณนาต่อไปมีน้าที่รักษาปริมาณน้ำและนำของเสียออกจากสมอง มันสมองเป็นอวัยวะที่ลอยในสิ่งของเหลวหรือน้ำหล่อเลี้ยงสมอง ลอยเหมือนเรือที่จอดไว้ที่ท่าเรือ ลอยได้แต่ไปไกลไม่ได้ เชือกที่มัดที่ท่าเรืออุปมาเหมือนเส้นใยละเอียดในเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (trabeculae) ที่ติดกับกะโหลก ขณะเราวิ่งหรือออกกำลังกายสมองไม่ได้กระทบกับหัวกะโหลก (นอกเว้นที่ชกมวยแย่งรุนแรง) เพราะเชือกดังกล่าว

 น้ำหล่อเลียงสมองถมช่องใหญ่หรือโพรงภายในสมองด้วย โพรงสมองมี ๔ โพรง น้ำหล่อเลี้ยงสมองหลั่งจากพื้นที่โพรงด้านข้างทั้งสอง โพรงที่ ๓ และโพรงที่ ๔ โพรงด้านข้างเชื่อมกับโพรงที่ ๓ จากนั้นน้ำหล่อเลี้ยงสมองไหลทางท่อน้ำแขบ ไปถึงโพรงที่ ๔ ซึ่งที่นั้นมีรู ออกจากก้านสมองด้านกลาง และด้านข้าง ดั้งน้นน้ำที่หลั่งภายในสอมงล้างพื้นที่ด้านในอยู่แล้วไปถึงด้านนองสมอง นอกจากนี้ระหว่างสมองและกะโหลกมีที่เก็บน้ำชั่งคราวหรือชลาธาร (cisterna) หลายแห่ง หลังจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองออกทางรูที่ก้านสมองแล้วจะมาสะสมชั่วคราวที่มหาชลาธาร (cisterna magna) และชลาธารไข่สันหลัง (cisterna medularis) ต่อไปจะไปสะสมที่ชลาธารหลายแหฟ่ง (*) ไปถึ้ด้านหน้าของสมองด้วย () ถึงที่จะไปถึงจุดสูงสุดของสมองใต้กะโหลก ที่นั้นน้ำหล่อเลี้ยงสมองจะออกนอกเยื่อหุ้มสมองร่วมกับเลือดดำ

เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยสามชั้น ชั้นที่ติดกับสมองบอบบางมาก ชั้นกลางมีลักษณะคล้ายใยแมงมุม เต็มน้ำหล่อเลี้ยงสมองและมีหลอดเลือด ชั้นนอกหรือเยื่อทุรามีลักษณะทุระหรือแข็งประกอบด้วยเส้นใยชนิดหนา ในจุดสูงสุดของสมองเยื่อชั้นกลางจะทรงรูปเป็นตุ้มที่บวมออกจากเยื่อชั้นนอก เซลล์ในผิวหนังตุ้มนี้สามารถนำน้ำหล่อเลี้ยงสมองออกไปช่องบนที่สะสมเลือดนอกสมอง ตุ้มทำงานเหมือนกับลิ้นเปิดปิด ขณะความดันอุทกสติตถึงระดับพอสมควร (ประมาณ ๗ ซ. น้ำ) ลิ้นจะเปิด เปิดแล้วจะให้น้ำหล่อเลี้ยงสมองออกและร่วมกับเลือดดำที่จะกลับหัวใจ จะเห็นว่า น้ำหล่อเลี้งสมองไหลตลอดและล้างพื้นที่สมองทั้งพื้นที่ด้านในและด้านนอก นอกจากนี้น้ำหล่อเลี้ยงสมองเก็บที่เยื่อหุ้มเส้นประสาทสมอง จากนั้นเข้ามาร่วมน้ำเหลืองโดยตรง คือไม่ต้องร่วมเลือดดำก่อน

สมองนอกจากจะมีน้ำหล่อเลี้ยงสมองที่ทราบนานๆ แล้ว ยังมีระบบอื่นมีหน้าที่ล้างเนื้อเยื่อแท้อวัยวะด้วย คือระบบกลิมฟาทิก (glymphatic) คงไม่ได้ยินคำนี้เมื่อก่อน เพราะว่าระบบกลิมฟาทิกเพิ่งจะศึกษามา ถึงแม้ว่าสมองไม่มีน้ำเหลืองแท้ แต่น้ำในบริเวณระหว่างเซลล์กับเซลล์เกลียทำหน้าที่แทน ดั้'นั้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ศึกษาตั่งศัพท์ใหม่ ระบบกลิมฟาทิก (Iliff และคณะ, 2012)

ระบบกลิมฟาทิกนิยามว่า วิถีนอกหลอดเลือดสำหรับแลกเปลี่ยนสารและขับทิ้งของเสียออกจากสมองที่ใช้น้ำหล่อเลี้ยงสมองและน้ำระหว่างเซลล์ หลอดเลือดในสมองมีผนังรอบๆ ประกอบด้วยปลายแขนของเซลล์แอสโทรไซต์ต่างๆ ที่เป็นเหมือนอิฐของผนัง ปลายแขนมีรูปเท้าและจะติดกันอย่างสนิท ผนังทำให้สารออกจากหลอดเลือดและเข้าในสมองยาก นอกเว้นสารละลายในไขมันได้ สารที่มีโปรตีนขนส่งจำเพาะ หรือเป็นสารที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์อย่างง่าย เช่น แกสออกซิเจน แกสคาร์บอนไดอ็อกไซด์ และแกสยาสลบบางชนิด เป็นต้น นอกจากนี้เซลล์แอสโทรไซต์มีโปรตีนขนส่งน้ำชนิด AQP4 ทำให้น้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ง่ายๆ เนื่องจากหลอดเลือดแดงมีความดันอุทกสติตสูง น้ำออกจากผนังรอบหลอดเลือดแดงมากๆ น้ำที่ออกแล้วจะไหลทางเนื้อเยิ่อถึงหลอดเลือดดำในบริเวณใกล้ชิด ซึ่งมีผนังด้วยปลายเซลล์แอสโทรไซต์เหมือนกัน ส่วนความดันภายในหลอดเลือดดำต่ำ ทำให้น้ำเข้าในกระแสเลือดอย่างอิสระ จะเห็นว่า ระหว่างหลอดเลือดแดงกับหลอดเลือดแดงมีกระแสงน้ำไหลตลอดเวลา กระแสน้ำนำสิ่งของและของเสียลอยไปที่บริเวณหลอดเลือดดำ ซึ่งมีโครงสร้างพิเศษคือ รูป่เท้าปลายเซลล์แอสโทรไซต์ติดกับหลอดเลือดดำ แต่มีช่องว่างขนาดประมาณ ๒๐ นม. เรียกว่า ช่องแห่งฟีร์โกว์และโรบิน (Virchow-Robin) น้ำสามารถเข้าในช่องนี้ได้ ขณะน้ำไหลจากหลอดเลือดแดงถึงหลอดเลือดดำนำสิ่งของไป ไม่ว่าจะเป็นโมเลกูลเบาหรือหนักจะลอยไปพร้อมกัน ไม่เหมือนกับกระบวนการการกระจัดกระจายที่น้ำอยู่ในที่และสิ่งของแพรกระจ่ยแล้วแต่น้ำหนัก อย่างไรก็ตาม สารและของเสียสะสมในบริเวณหลอดเลือดดำแล้ว เข้าในช่องแห่งฟีร์โกว์และโรบิน โมเลกูลขนาดใหญ่เช่น เพปไทด์ β-amyloid เข้าไปได้
ระบบกลิมฟาทิกมีคนศึกษาอย่างต่อเนื่อง ศึกษาในสัตว์ทดลองและศึกษาเชิงคลินิกในมนุษย์ ในหนูทดลองประมาณร้อยละ ๗๕ ของของเสียจะออกทางระบบกลิมฟาทิก

วิธีศึกษาระบบกลิมฟาทิกใช้โมเลกุลสีเรืองแสงขนาดเล็ก ละลายในน้ำเกลือและฉีดเข้าสมอง ในการศึกษาหนึ่ง ฉีดภายในมหาชลาธารแลพโพรงด้านข้างมาเปรียบเทียบ ฉีดสีในโพรงด้านข้างไม่ได้เห็นเข้าในเนื้อเยื่อแท้ หมายความว่า น้ำหล่อเลียงสมองที่อยู่ในโพรงออกทางรูทั้งสามในแขนสมองอย่างเดียว ไม่ได้เข้าในเนื้อเยื่อ ขณะที่ฉีดสีทีมหาชลาธารได้เห็นสีที่กระจายไปเนื้อเยื้อแท้ โดยเฉพาะในบริเวณรอบหลอดเลือด ถ้าใช้โมเลกุลสีขนาดเล็กเข้าในเนื้อเยื้ออย่างเร็ว สรุปแล้วน้ำหล่อเลียงสมองสามารถไหลเวียนรอบสมองและเข้าในเนื้อเยื่อแท้ด้วย มีการศึกษาอื่น (Xie และคณะ 2013) เขาพบว่า ขณะหนูทดลองนอนหลับน้ำหล่อเลียงสมองการไหลเพิ่มมากขึ้นร้อยละ ๖๐ ส่วนเวลาตื่นไหลช้าลง เหมือนกับเวลานอนสมองทำความสะอาดตัวเอง

สมองของเรา แม้ว่าไม่มีหลอดน้ำเหลือง แต่มีน้ำหล่อเลี้ยงสมองที่ไหลเวียนตลอดเวลา และน้ำระหว่างเซลล์ไหลจากหลอดเลือดแดงไปถึงหลอดเลือดำ เข้าไปในช่องระหว่างผนังแอสโทรไซต์และนำของปฏิกูลออกจากมันสมอง

หมายเหตุ
* c. interpeduncularis, c. laminae tecti, c. fisurae transversalae, และ c. venae cerebri magnae
c. chiasmus และ c. interpeduncularis

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเรียนรู้ที่มองไม่เห็น

การวิเคราะห์การศึกษาจำเป็นต้องนึกถึงสังคมในอนาคตที่ผู้เรียนจะดำเนินชีวิต เช่น ผู้สอนรุ่นเก่าได้สอนวิธีคิดเลข โดยไม่รู้ว่าภายหลังจะมีเครื่องคิดเลข เป็นต้น ขณะนี้อาจมีบางคนที่พยายามคาดเดาอนาคตเพื่อพัฒนาการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการสังคมผู้เรียนรู้จาริก (Knowmad society) เขาพยายามหาลักษณะของสังคมในอนาคตและชี้ทักษะการดำรงชีพที่เหมาะสม ซึ่งภายหน้าอาจจะมีผู้รู้ที่เรียกว่า ผู้เรียนรู้จาริก (knowmad ศัพท์ใหม่) เป็นผู้ที่สามารถหาความรู้ด้วยตัวเองได้ เรียนรู้ได้ ลืมของเก่าได้ เขาจะมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้เป็นผู้ที่มีความสามารถทำงานในสังคมและวัฒนธรรมต่างๆได้ มีทักษะทางภาษา สังคมในอนาคตจะเป็นสังคมประเภทที่สาม ซึ่งอาศัยความรู้มากขึ้น ไม่เหมือนกับสังคมที่อาศัยผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรม ที่เรียกว่าสังคมประเภทที่ ๑
ส่วนสังคมผู้เรียนรู้จาริกได้อธิบายไว้ในหนังสือสองเล่ม เล่มที่หนึ่งเขียนเป็นภาษาสเปนใน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีชื่อว่า “การเรียนรู้ที่มองไม่เห็น” (Aprendizaje invisible, pdf) และอีกเล่มหนึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษมีซื่อ “สังคมจาริก” (Knowmad society) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ทั้งสองเล่มนี้มีเนื้อหาคล้ายกัน ในเล่มที่สองจะเน้นนวัตกรรมทางด้านการศึษาที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์และกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ส่วนเล่มแรกจะเขียนเน้นนวัตกรรมในประเทศที่ใช้ภาษาสเปน เช่น โครงการเฟสบุ๊ก (Projecto Facebook) ในประเทศอาร์เจนตินา (๒๕๕๑) และแพนการเซยบัล (Ceybal project) ในสาธารณรัฐอุรุกวัย (๒๕๕๒)
หนังสือทั้งสองเล่มนี้ชี้ทักษะของผู้เรียนรู้ในอนาคต ส่วนที่ต่างกันในเล่มที่สอง เล่มใหม่เรียกว่าทักษะอ่อน (soft skills) ส่วนเล่มเดิมเรียกว่าสมารถภาพทางด้านมนุษยาศาสตร์ (habilidades humanistas) เสียดายที่ส่วนนี้ไม่มีในเล่มใหม่ เพราะมีความน่าสนใจและน่านำมาวิเคราะห์ด้วย สามารถภาพดังกล่าวมีทั้งหมด ๑๒ ข้อ ได้แก่
  1. คิดเป็นระบบ
  2. คิดแบบสมมุติว่าเป็นอย่างนั้น
  3. สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปหรือไม่มั่นคงได้
  4. สามารถสร้างสรรค์และวิเคราะห์สภาพอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่ต่างกัน
  5. ตั้งเป้าหมายและตอบสนองต่อการท้าทายได้
  6. เข้าใจข้อมูลที่มีอยู่และนำมาใช้ได้
  7. สร้างความรู้ระดับบุคคลด้และนำมาใช้
  8. สร้างความรู้เกี่ยวกับบริบท กระบวนการ และวัฒนธรรมและนำมาใช้
  9. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
  10. หาความรู้และวิเคราะห์ความรู้แนวโน้มทางโลกภิวัตได้
  11. พูดและเขียนอย่างพึ่งตนเอง
  12. ตั้งใจที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฉบับ แนะนำทักษะของผู้เรียนสมัยใหม่ ที่อาจจะเป็นการเรียนรู้ที่ไม่เป็นระบบ ทั้งนี้ไม่จำเป็นที่ต้องปฏิรูปการศึกษา เพราะว่าทักษะดังกล่าวจะเรียนได้จากในพื้นที่ต่างๆ เรียนจากเพื่อน เรียนนอกห้องเรียน เรียนจากเครือข่ายทางสังคม เรียนในขณะเดินทาง เป็นต้น ผู้เรียนรู้จาริกสามารถพัฒนาตัวเองกับเพื่อนและช่วยเพื่อนได้ เปลี่ยนประเด็นเรียน โดยที่บางครั้งผู้เรียนอาจจะเปลี่ยนเป็นผู้สอนได้

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการการศึกษาลาว

การศึกษาในประเทศลาวได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะปัจจุบัน ขณะศึกษาประวัติศาสตร์บางที่เน้นการเมืองและการปกครองมากถึงที่ไม่ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของความรู้และการถ่ายทอดความรู้

ต้องยอมรับที่สมัยก่อนเมืองลาวไม่มีรูปแบบปัจจุบัน สถาบันการศึกษาคือ วัด เด็กชายที่บวชเป็นสมาเณรได้โอกาสรู้อักษรและเรียนหลักศาสนา ส่วนเด็กหญิงคงไม่ได้เรียน ไม่ต้องแปลกใจที่สมัยก่อนผู้หญิงและผู้ชายมีบทบาทในสังคมที่ต่างการ ความจริงไม่ควรใช้เกณฑ์ปัจจุบันเพื่อพิพากษาอดีต อย่างไรก็ตาม ที่หลังสมัยฝรั่งเศสมาปกครองพื้นที่ เขาได้ตั้งโรงเรียนและพิมพ์หนังสือ หนังสือประถมศึกษาเป็นภาษาลาวออกมาครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๓ และหนังสือระดับมัธยมศึกษาติดตามมาในปีต่อไปพร้อมกับการเปิดโรงเรียนโดยออกุสต์ ปาวี (Aguste Pavie) ข้าหลวงใหญ่ของฝรั่งเศสประจำลาวคนแรก ต่อมาภายใน พ.ศ. ๒๔๗๕ มีนักเรียน ๗,๐๓๕ คน (เด็กหญิง ๙๗๖ คน) ที่เข้าศึกษาอยู่ในโรงเรียนรัฐบาล กลุ่มนักเรียนเหล่านี้ประกอบด้วยเด็กลาวชนเผ่าต่างๆ และเด็กเวียดนาม

หลังจากมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ตั้งคณะกรรมการวรรณคดี (Comité-littéraire du Laos) ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ (ຮາດສະພະບັນດິດ, Académie Royale du Laos) ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ องค์กรมีเป้าหมายทำให้ภาษาลาวทันสมัยและพัฒนาศัพท์ใหม่ทางด้าน นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฟิสิกส์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ชีววิทยา ฯลฯ เช่น ศัพท์ ธาตุเหลือง (ດາດເຫຼືອງ, corpus luteum) ที่ใช้ในหนังสือนักเรียนถึงปัจจุบันนี้ เป็นศัพท์ที่ประดิษฐ์ใหม่

ในทศวรรษ ๒๕๑๐ ลาวได้เห็นกิจกรรมทางด้านวีชาการเพิ่มมากขึ้น ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ วารสาร Mittasone เร่มออกมา ต่อไปใน พ.ศ. ๒๕๑๓ วารสารภาษาฝรั่งเศส Bulletin des Amis du Royaume Laos ติดตามมาด้วยบทเกี่ยวกันเรื่องต่างๆ และใน พ.ศ. ๒๕๑๖ ออกฉบับพิเศษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศลาว วารสานอื่นๆ ติดตามมา เช่น วารสารไผ่หนาม (ໄຜ່ໜາມ พ.ศ. ๒๕๑๕) ซึ่งมีบทความเกี่ยวกับวรรณคดีและประวัติศาสตร์ โดยการการแนะนำของนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ มหาศีลา วีรวงศ์ (ມະຫາສີລາ ວີຮະວົງ) ต่อไปมีวารสาร นาง เป็นวารสารแรกในลาวที่มาอภิปรายเรื่องที่เป็นความสนใจของผู้หญิง และใน พ.ศ. ๒๕๑๔ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรกในลาวออกมา (Vientiane Times) ออกมา

หลังจากตั้งสาธารณรัฐประชาชนลาวหรือ สปป. ลาว ถึงปัจจุบันนี้การศึกษาอย่างต่อเนื่อง ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ออกวารสารอัปเดต (ອັບເດດ) ตอนนี้นอกจากฉบับพิมพ์ยังมีฉบับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเฟซบุ๊ก ที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประเทศลาวได้เปิดมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ซึ่งในปัจจุบันนี้มีคณะ ๑๑ คณะ พร้อมกับโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง
Evans, G (2012) A short history of Laos: The land in between, Silkworm books, Bangkok