อุดมศึกษาจำเป็นต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสอดคล้องกับการพัฒนาของโลก สมัยก่อนเราใช้ตลับเทปเพื่อบันทึกเสียง อาจเป็นเพลงหรือการพูดคย ส่วนตอนนี้เราใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต วิธีการเรียนเปลี่ยนไป ซึ้งมีผลกระทบต่อเนื้อความที่เรียน เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อบันทึกข้อมูลช่วยเรียนภาษาต่างประเทศอได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม เพือพัฒนาอุดมศึกษาต้องกำหนดเป้าหมายหรือรูปแบบของสภาวะที่อยากให้เกิดขึ้น และต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับโลกปัจจุบันและความเป็นมา
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ ๑๑ ที่ประกาศปีที่แล้ว กำหนดการพัฒนาในระยะเวลา พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ แผนการประกอบด้วยเป้าหมายสำคับสองด้าน อาทิ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กับการเข้าร่วมในประชาคมอาเซียน
ประการที่หนึ่งของแผนการอุดมศึกษาคือ นำการศึกษาแล้วแต่มุมมองเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ให้สังคมพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องอาศัยกับทรัพยากรที่มีปริมาณจำกัดหรือทรัพยากรที่กำลังจะหมดลง ดังนั้นเป้าหมายหนึ่งของแผน จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถแก้ปัญหาของประเทศ นอกจากนี้สามารถตอบสนองต่อสภาวะวิคฤตได้ คือต้องเป็นผู้ที่คิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น ตลอดจนผู้สำเร็จอุดมศึกษาจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้ ดังนั้นแผนจะเน้นการสร้างบัณฑิตนักปฏิบัติแลเน้นวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทฤษฎีจุดมุ่งหมายที่จะประหยัดทรัพยากร ดังนั้นแผนการอุดมศึกษาจะบูรณาการการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอาชีวศึกษากับอุดมศึกษา
ประการที่สองของแผนการอุดมศึกษาคือ ให้ผู้สำเร็จอุดมศึกษาสามารถแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้ ข้อนี้หมายถึง ผู้สำเร็จอุดมศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาสามารถไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน สามารถร่วมมือกับชาวต่างชาติและทำงานด้วยกันเพื่อประโยชน์ซึ่งกันและกันได้ แผนจะเน้นให้นิสิตนักศึกษาเรียนภาษาต่างประเทศ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน (ต้องสังเกตร้านหนังสือที่กรุงเทพฯ ไม่มีตำราเรียนภาษาประเทศเพื่อนบ้าน และไม่เคยเห็นพจนานุกรม ไทย-ลาว ไทย-มลายู หรือ ไทย-พม่า คณะนีร้มหาวิทยาลัลบางแห่งได้สอนวิชา ภาษาเขมร หรือภาษาลาวอยู่แล้ว) อย่างไรก็ดี แผนยังมี “การแลกเปลี่ยนอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ” (ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ข้อ ๔.๖) นอกจากนี้จะสนับสนุนให้จัดหลักสูตรนานาชาติ และให้จัดหลักสูตรร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ตำราระบบประสาท
หนังสือใหม่ ระบบประสาทและการทำงาน ของ นพ.สมนึก นิลบุหา เล่าการทำงานของระบบประสาทใน ๒๖๔ หน้าจัดเป็น ๑๙ บท สาระสำคัญมีประสาทกายวิภาคศาสตร์หรือโครงสร้างระบบประสาท เล่มนี้ไม่ได้อธิบายโครงสร้างอย่างเดียว แต่นำประเด็นสำคัญของระบบประสาทที่อาศัยโครงสร้างมาวิเคราะห์ เช่น ในหน้า ๒๑๖ มาอธิบายสาเหตุทำไมขณะที่หลอดเลือด ปิก้า อุดตันจะเสียความสัมผัสเจ็บปวดและอุณหภูมิในด้านร่างการตรงกันข้ามกับที่อุดตัน สำหรับอาจารย์และผู้สำเร็จเรียนวิชามาแล้วประเด็นนี้ชัดเจน ส่วนนิสิตแพทย์ที่เพิ่งเรียนหรือยังเรียนระบบประสาทอยู่เรื่องนี้คล้ายกับไสยศาสตร์
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เล่มประสาทกายวิภาคศาสตร์โดยตรง แต่นำประเด็นจากวิชาดั่งกล่าวที่มีความสำคัญเท่านั้นมาอธิบาย เช่น ไม่ได้เล่าเรื่อง dermatome อย่างละเอียด แม้ว่าสำคัญอาจจะทำให้ผู้เริ่มเรียนซับซ้อน
เล่มเริ่มเล่าส่วนๆ ของระบบประสาทและลักษณะสำคัญของเซลล์ประสาทและเซลล์เกลีย ต่อไปเล่าถึงกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นจากดึงกล้ามเนื้อ ประเด็นนี้สำคัญ เพราะว่าความผิดปกติของระบบประสาทบางชนิจะแสดงออกโดยผู้ป่วยไม่สามารถนำกล้ามเนื้อมาทำงาน แม้ว่ากล้ามเนื้อไม่ใช่ระบบประสาท แพทย์จะตรวจกล้ามเนื้อเพื่อพิสูจน์ว่าระบบประสาททำหน้าที่อยู่หรือไม่ เป็นกรณีเหมือนกับเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจความสะอาดของถนนเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ว่าราชการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม บทต่อไปมาอธิบายเรื่องวิถีประสาท ทั้งวิถีประสาทและวิถีประสาทลง เรื่องนี้ซับซ้อนพอสมควร แต่เล่มทำให้ง่ายกว่า โดยเน้นข้อมูลที่วิถีประสาทถือไปส่งอยู่ ไม่ได้เน้นโครงสร้าง บทต่อไปอธิบายวิถีประสาทที่เดินทางจางเปลือกสมองทางไขสังหลัง ไปควบคุมเซลล์ประสาทสั่งการ ส่วนต่อไปอธิบายงานกลุ่มเซลล์ใต้สมอง ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ แม้ว่าระบบนี้ไม่ได้ควบคุมประสาทสั่งการโดยตรง ต่อไปบทที่ ๔ อธิบายงานของเปลือกสมองแต่ละบริเวณ โดยเอาบริเวณที่เกี่ยวข้องมาร่วมกัน เช่นบริเวณที่ ๑๘-๑๙ ซึ่งมีเกี่ยวข้องกับความมองเห็น และบริเวณที่ ๘ ซึ่งมีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของตา นำมาพรรณนาพร้อมกัน
บทต่อไปมาเล่าเรื่องประสาทสมอง ๑๒ คู่ ที่นี่อาจารย์ใช้แนวคิดอนุรักษ์นิยม มาอธิบายส่วนกิจกรรม (GSA, SSA, GVA, ฯลฯ) อย่างอ่านในตำราอื่นๆ แต่พร้อมกับประสาทสมองแต่ละคู่มีอาการและอาการแสดงด้วย จากนั้นอธิบายกลไกการเคลื่อนไหวของตา ใน ๔ บทต่อไปมาเล่าเรื่องประสาทสัมผัส มีการได้ยีน ระบบทรงตัวภายในหู และการรู้รส แต่ไม่มีการดมกลิ่น ซึ่งมาอธิบายที่หลังพร้อมกับระบบลิมบิก ต่อไปมีไฮโปทาลามัส ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ด้วย
บทที่ ๑๔ อธิบายระบบลิมบิก ความทรงจำ และความกลัว เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณต่างๆ ของระบบลิมบิกซับซ้อนพอสมควรอาจารย์ไม่ได้ใช้ส่วนที่ตัดออกมาวาด แต่ใช้แผนภาพเพื่อแสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง มีแต่รูป ๑๔.๑ รูปเดียว ซึ่งแสดงสมองหั่นตามยาย บทที่ ๑๕ อธิบายโครงสร้างสมองน้อย (อนุสมอง) โดยใช้ตารางสรุปวิถีประสาทเข้าและวิถีประสาทออกเพื่อจะได้เห็นภาพร่วมอย่างง่ายๆ ต่อไปบทที่ ๑๖ อธิบายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและไขสังหลัง มีภาพประกอบที่แสดงพื้นที่ที่หลอดเลือดไปบริการอาหารให้ นอกจากนี้ยังเล่าความผิดปกติหลอดเลือดด้วย ทั้งหลอดเลือดอุคตันแบะหลอดเลือดแตก ตลอดจนอาการที่อาจจะเกิดขึ้น สิ่งที่น่าสังเกตที่อาจารย์จำแนกความแตกต่างกับอาการที่มาเร็วและช้า ส่วนสองบทต่อไป (บทที่ ๑๗-๑๘) อธิบายเกี่ยวกับโพรงสมอง น้ำไขสังหลัง และความดันอุทกสถิตภายในกะโลกศีรษะและการเกี่ยวข้องกับความดันโลหิต บทสุดท้ายเป็นบทบูรณการ อธิบายวิธีหาจุดผิดปกติในผู้ป่วนระบบประสาทโดยวิเคราะห์อาการและอาการแสดง
นิสิตนักศึกษาที่เรียนประสาทกายวิภาคศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้ตำราของ อ.มีชัย ศรีใส (พ.ศ. ๒๕๔๖, ๕๐๘ หน้า) ซึ่งเป็นเล่มสมบูรณ์ ประกอบด้วยรูปถ่ายอาจารย์ใหญ่และภาพ CT ในผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ ส่วนนิสิตหนักศึกษาที่อ่านภาษาอังกฤษอย่างสะดวกมักอ่านตำราของ D. Haines (Fundamental neuroscience for basic and clinical applications, พ.ศ. ๒๕๔๘, ๖๐๘ หน้า) สองเล่มนี้เป็นเล่มสมบูรณ์และละเอียด แต่ขณะเริ่มนิสิตหนักศึกษาต้องมีอดทนอย่างสูง เพราะว่าไม่ได้เห็นภาพร่วม ส่วนเล่มของ นพ.สมนึก จะให้เห็นภาพร่วมและความสำคัญของแต่ละหัวข้อในทั้งที่ เหมาะสมสำหรับผู้ทบทวนวิชาและผู้เริ่มเรียน
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เล่มประสาทกายวิภาคศาสตร์โดยตรง แต่นำประเด็นจากวิชาดั่งกล่าวที่มีความสำคัญเท่านั้นมาอธิบาย เช่น ไม่ได้เล่าเรื่อง dermatome อย่างละเอียด แม้ว่าสำคัญอาจจะทำให้ผู้เริ่มเรียนซับซ้อน
เล่มเริ่มเล่าส่วนๆ ของระบบประสาทและลักษณะสำคัญของเซลล์ประสาทและเซลล์เกลีย ต่อไปเล่าถึงกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นจากดึงกล้ามเนื้อ ประเด็นนี้สำคัญ เพราะว่าความผิดปกติของระบบประสาทบางชนิจะแสดงออกโดยผู้ป่วยไม่สามารถนำกล้ามเนื้อมาทำงาน แม้ว่ากล้ามเนื้อไม่ใช่ระบบประสาท แพทย์จะตรวจกล้ามเนื้อเพื่อพิสูจน์ว่าระบบประสาททำหน้าที่อยู่หรือไม่ เป็นกรณีเหมือนกับเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจความสะอาดของถนนเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ว่าราชการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม บทต่อไปมาอธิบายเรื่องวิถีประสาท ทั้งวิถีประสาทและวิถีประสาทลง เรื่องนี้ซับซ้อนพอสมควร แต่เล่มทำให้ง่ายกว่า โดยเน้นข้อมูลที่วิถีประสาทถือไปส่งอยู่ ไม่ได้เน้นโครงสร้าง บทต่อไปอธิบายวิถีประสาทที่เดินทางจางเปลือกสมองทางไขสังหลัง ไปควบคุมเซลล์ประสาทสั่งการ ส่วนต่อไปอธิบายงานกลุ่มเซลล์ใต้สมอง ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ แม้ว่าระบบนี้ไม่ได้ควบคุมประสาทสั่งการโดยตรง ต่อไปบทที่ ๔ อธิบายงานของเปลือกสมองแต่ละบริเวณ โดยเอาบริเวณที่เกี่ยวข้องมาร่วมกัน เช่นบริเวณที่ ๑๘-๑๙ ซึ่งมีเกี่ยวข้องกับความมองเห็น และบริเวณที่ ๘ ซึ่งมีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของตา นำมาพรรณนาพร้อมกัน
บทต่อไปมาเล่าเรื่องประสาทสมอง ๑๒ คู่ ที่นี่อาจารย์ใช้แนวคิดอนุรักษ์นิยม มาอธิบายส่วนกิจกรรม (GSA, SSA, GVA, ฯลฯ) อย่างอ่านในตำราอื่นๆ แต่พร้อมกับประสาทสมองแต่ละคู่มีอาการและอาการแสดงด้วย จากนั้นอธิบายกลไกการเคลื่อนไหวของตา ใน ๔ บทต่อไปมาเล่าเรื่องประสาทสัมผัส มีการได้ยีน ระบบทรงตัวภายในหู และการรู้รส แต่ไม่มีการดมกลิ่น ซึ่งมาอธิบายที่หลังพร้อมกับระบบลิมบิก ต่อไปมีไฮโปทาลามัส ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ด้วย
บทที่ ๑๔ อธิบายระบบลิมบิก ความทรงจำ และความกลัว เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณต่างๆ ของระบบลิมบิกซับซ้อนพอสมควรอาจารย์ไม่ได้ใช้ส่วนที่ตัดออกมาวาด แต่ใช้แผนภาพเพื่อแสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง มีแต่รูป ๑๔.๑ รูปเดียว ซึ่งแสดงสมองหั่นตามยาย บทที่ ๑๕ อธิบายโครงสร้างสมองน้อย (อนุสมอง) โดยใช้ตารางสรุปวิถีประสาทเข้าและวิถีประสาทออกเพื่อจะได้เห็นภาพร่วมอย่างง่ายๆ ต่อไปบทที่ ๑๖ อธิบายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและไขสังหลัง มีภาพประกอบที่แสดงพื้นที่ที่หลอดเลือดไปบริการอาหารให้ นอกจากนี้ยังเล่าความผิดปกติหลอดเลือดด้วย ทั้งหลอดเลือดอุคตันแบะหลอดเลือดแตก ตลอดจนอาการที่อาจจะเกิดขึ้น สิ่งที่น่าสังเกตที่อาจารย์จำแนกความแตกต่างกับอาการที่มาเร็วและช้า ส่วนสองบทต่อไป (บทที่ ๑๗-๑๘) อธิบายเกี่ยวกับโพรงสมอง น้ำไขสังหลัง และความดันอุทกสถิตภายในกะโลกศีรษะและการเกี่ยวข้องกับความดันโลหิต บทสุดท้ายเป็นบทบูรณการ อธิบายวิธีหาจุดผิดปกติในผู้ป่วนระบบประสาทโดยวิเคราะห์อาการและอาการแสดง
นิสิตนักศึกษาที่เรียนประสาทกายวิภาคศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้ตำราของ อ.มีชัย ศรีใส (พ.ศ. ๒๕๔๖, ๕๐๘ หน้า) ซึ่งเป็นเล่มสมบูรณ์ ประกอบด้วยรูปถ่ายอาจารย์ใหญ่และภาพ CT ในผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ ส่วนนิสิตหนักศึกษาที่อ่านภาษาอังกฤษอย่างสะดวกมักอ่านตำราของ D. Haines (Fundamental neuroscience for basic and clinical applications, พ.ศ. ๒๕๔๘, ๖๐๘ หน้า) สองเล่มนี้เป็นเล่มสมบูรณ์และละเอียด แต่ขณะเริ่มนิสิตหนักศึกษาต้องมีอดทนอย่างสูง เพราะว่าไม่ได้เห็นภาพร่วม ส่วนเล่มของ นพ.สมนึก จะให้เห็นภาพร่วมและความสำคัญของแต่ละหัวข้อในทั้งที่ เหมาะสมสำหรับผู้ทบทวนวิชาและผู้เริ่มเรียน
วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555
การออกแบบรายวิชา : การแสดงออกของยีน
ขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประสานงานรายวิชามีความประสงค์ให้ออกแบบที่ดี แต่บางครั้งไม่ทราบออกดีแบบอย่างไร ขณะนี้มาเล่าประสบการณ์ในออกแบบรายวิชาการแสดงออกของยีนสำหรับนิสิตปริญญาโทและเอก
อันดับแรกต้องพิจารณาเนื้อความและขอบเขตอย่างประณีต แม้ว่าได้เรียนวิชามาแล้วสมัยยังเรียนอยู่ต้องสังเกตที่ในปัจจุบันวิชาเปลี่ยนมากๆ จำเป็นต้องหาเนื้อความสำคัญและเหมาะสม
ไปห้องสมุดได้พบหนังสือสองเล่มที่น่าจะนำมาใช้เป็นตำราประจำวิชาได้ ได้แกตำราของ Benjamin Lewin และตำราของ David Latchman วิธีที่ได้พบสองเล่มนั้นคือ ไปห้องสมุดหาหนังสือวิชาการแสดงออกของยีนที่รู้จักอย่างดี เข้าไปหิ้วหนังสือเห็นที่ใกล้ชิดกับเล่มนั้นมีเล่มอื่นแต่เรื่องเดียวกัน เปิดดูและตรวจดัชนี ต่อไปเลือกสองสามเล่มยืมมาอ่านอย่างละเอียด พยายามอ่านทั้งหมดหรือเท่าที่อ่านได้ จากการอ่านตำราได้ความรู้หลักและแนวคิดสำคัญ แต่อาจไม่ทันสมัย เพราะว่าต้องสังเกตที่ผู้เขียนตำราใช้เวลาเขียนหลายปี ดังนั้นต้องเพิ่มกับบทวิจารณ์ทันสมัย ที่นี่โชคดีที่มีวารสารที่เกี่ยวข้องคือ Nature review molecular cell biology และ Current Opinion in Cell Biology ซึ่งมีฉบับพิเศษเกี่ยวกับการแสดงออกของยีนด้วย จากบทปริทัศน์ได้ความรู้สมัยใหม่และได้รู้ประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์ยังศึกษาอยู่ เพราะว่านิสิตบัณฑิตน่าจะเรียนเนื้อความทันสมัยที่นำเอามาใช้กับงานวิจัยได้
ขั้นต่อไปต้องเพิ่มความรู้ทางด้านทฤษฎีหลักสูตรและวิธีออกแบบหลักสูตร แม้ว่าได้ออกแบบรายวิชาหลายวิชาแล้ว จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ของคนอื่นด้วย คุยกับเพื่อนร่วมงานและหาเอกสารเขียน ไปห้องสมุดใช้วิธีดังกล่าวได้พบหนังสือของ H. Lynn Erickson ขณะสอนนอกจากสอนข้อเท็จจริง อ. ลิน ให้เน้นแนวคิดด้วย ส่วนในด้านอนุชีววิทยาโครงสร้างของโมเลกุลกำหนดการกระทำ เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีความสันพันธ์กันและกันระหว่างหัวข้อด้วย เป็นประเด็นสำคัญเพราะว่า ในกระบวนการการแสดงออกของยีนแต่ละขั้นตอนนั้นมีเกี่ยวข้องกับขั้นต้นอื่น ดังนั้นในกรณีที่มีผู้สอนหลายคนต้องทำให้แน่ใจอาจารย์แต่ละคนทราบว่าคนอื่นสอนอะไร ผู้ประสานงานต้องสื่อสารเป็นประจำให้อาจารย์ทุกคนทราบ บางทีอาจารย์ไม่มีเวลาฟังคำบรรยายของอาจารย์ผู้ร่วมงานด้วย
อันดับแรกต้องพิจารณาเนื้อความและขอบเขตอย่างประณีต แม้ว่าได้เรียนวิชามาแล้วสมัยยังเรียนอยู่ต้องสังเกตที่ในปัจจุบันวิชาเปลี่ยนมากๆ จำเป็นต้องหาเนื้อความสำคัญและเหมาะสม
ไปห้องสมุดได้พบหนังสือสองเล่มที่น่าจะนำมาใช้เป็นตำราประจำวิชาได้ ได้แกตำราของ Benjamin Lewin และตำราของ David Latchman วิธีที่ได้พบสองเล่มนั้นคือ ไปห้องสมุดหาหนังสือวิชาการแสดงออกของยีนที่รู้จักอย่างดี เข้าไปหิ้วหนังสือเห็นที่ใกล้ชิดกับเล่มนั้นมีเล่มอื่นแต่เรื่องเดียวกัน เปิดดูและตรวจดัชนี ต่อไปเลือกสองสามเล่มยืมมาอ่านอย่างละเอียด พยายามอ่านทั้งหมดหรือเท่าที่อ่านได้ จากการอ่านตำราได้ความรู้หลักและแนวคิดสำคัญ แต่อาจไม่ทันสมัย เพราะว่าต้องสังเกตที่ผู้เขียนตำราใช้เวลาเขียนหลายปี ดังนั้นต้องเพิ่มกับบทวิจารณ์ทันสมัย ที่นี่โชคดีที่มีวารสารที่เกี่ยวข้องคือ Nature review molecular cell biology และ Current Opinion in Cell Biology ซึ่งมีฉบับพิเศษเกี่ยวกับการแสดงออกของยีนด้วย จากบทปริทัศน์ได้ความรู้สมัยใหม่และได้รู้ประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์ยังศึกษาอยู่ เพราะว่านิสิตบัณฑิตน่าจะเรียนเนื้อความทันสมัยที่นำเอามาใช้กับงานวิจัยได้
ขั้นต่อไปต้องเพิ่มความรู้ทางด้านทฤษฎีหลักสูตรและวิธีออกแบบหลักสูตร แม้ว่าได้ออกแบบรายวิชาหลายวิชาแล้ว จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ของคนอื่นด้วย คุยกับเพื่อนร่วมงานและหาเอกสารเขียน ไปห้องสมุดใช้วิธีดังกล่าวได้พบหนังสือของ H. Lynn Erickson ขณะสอนนอกจากสอนข้อเท็จจริง อ. ลิน ให้เน้นแนวคิดด้วย ส่วนในด้านอนุชีววิทยาโครงสร้างของโมเลกุลกำหนดการกระทำ เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีความสันพันธ์กันและกันระหว่างหัวข้อด้วย เป็นประเด็นสำคัญเพราะว่า ในกระบวนการการแสดงออกของยีนแต่ละขั้นตอนนั้นมีเกี่ยวข้องกับขั้นต้นอื่น ดังนั้นในกรณีที่มีผู้สอนหลายคนต้องทำให้แน่ใจอาจารย์แต่ละคนทราบว่าคนอื่นสอนอะไร ผู้ประสานงานต้องสื่อสารเป็นประจำให้อาจารย์ทุกคนทราบ บางทีอาจารย์ไม่มีเวลาฟังคำบรรยายของอาจารย์ผู้ร่วมงานด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)