ในอดีตถือว่าการศึกษาสำคัญสำหรับประกอบอาชีพ พ่อนายสนธิ์ (จดหมายจางวางหร่ำ) สั่งสอนผู้เป็นลูกว่า “มันต้องคนที่เรียนรู้จากตำรามาลองทำเห็นได้จริงจะใช้ได้” (น. ๔๔)
อย่างไรก็ตาม นอกจากได้อาชีพเพื่อสามารถดำเนินชีวิต เรายังเรียนเพื่อพัฒนาตัวเองทางด้านคุณธรรม ปัญญา และความรู้ Naomi Hodgson ผู้ชนะการประกวดของสมาคมปรัชญาศึกษาแห่งสหราชอาณาจักรสังเกตว่า ในโลกปัจจุบันหลังจากกระบวนการของโบโลญญา สหภาพยุโรปต้องการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งความรู้ ดังนั้นอยากให้ทุกคนได้ทักษะทั้งสามด้าน อาทิ สามารถไปทำงานในพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่เกิด (คือ รู้ทั้งภาษวัฒนาธรรมและวิธีชีวิตอื่นๆ) สามารถปรับตัวเองได้ และใช้ความรู้ที่ประยุกต์ได้
เนามีถามทำไมชาวบ้านถือว่า คนที่มีการศึกษาคือ คนที่มีทรัพย์สมบัติและมีชื่อเสียง น่าจะเป็นเพราะว่าความคิดดังกล่าวอยู่ในวัฒนาธรรมยุโรปตั้งแต่โบราณ อาจจะมาจากความเห็นของเปลโตในหนังสือ Politeia ซึ่งเป็นเล็มที่มีอิทธิพลต่อสังคม แต่หลังจากนักวิชาการอ่านและวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่งแล้ว ได้ตีความใหม่ มีเงินและชื่อเสียงสำคัญ เพราะคนที่ไม่สั้งสอนคงจะหายไปจาสังคม แต่ในขณะเดียวกันชีวิตคนต้องสามารถตรวจได้ ชีวิตเหมือนกับบัญชีประกอบด้วยสิ่งที่มีค่าด้างสันคม และคนจะ “ลงทุน” เพื่อเพิ่มค่าตัวเอง แต่ยังมีค่าด้านคุณธรรมด้วย ต้องสังเกตความหมายของศัพท์ parrhesia ก่อน จะพบว่าศัพท์ดังกล่าวมายความว่า ผู้ที่พูดความจริงโดยคุณธรรมและไม่สนใจตกในสภาวะลำบากที่อาจเกิดขึ้น เหมือนกับศัพท์ สตฺยวาที (ส.) หรือ สจฺจวาจา (ป.) เช่น เจ้าชายนาละในเรื่องมหาภารตะเป็นองค์สตฺยวาที คนที่มี parrhesia เป็นคนที่พูดจริงทำจริงคือ สิ่งที่เขาพูดตรงกับสิ่งที่เขาทำ เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสามารถตรวจได้ แต่ไม่ใช่เพียงแต่ยอมให้ประเมินทางด้าน เศรษฐกิจ ความรู้ และคุณภาพของผลิตผลเขาเท่านั้น
“This entails seeing philosophy and education as present in the ethical relationship between self and other rather than restricting it to the formal educational institution or to a particular developmental stage.” (น. ๑๒๒)คือคนที่มีการศึกษาให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระว่างตนกับผู้อื่น สามารถอธิบายการกระทำให้ตนเองและให้ผู้อื่น พร้อมที่จะเปลี่ยนวิธีชีวิตถ้าพบประเด็นที่ไร้สาระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น