วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เซลล์ต้นกำเนิดที่สุรนารี

การประชุมนวัตกรรมทางด้านเซลล์ต้นกำเนิดที่มหาวิทยาลัยสุรนารีนครราชสีมาใน วันที่ ๒๔-๒๕ ก.ค. ที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสนักวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศได้ความรู้ทันสมัยและแนวคิดใหม่ระดับโลก ได้พบวิทยากรเอเชียและตะวันตก เซลล์ต้อนกำเนิดเป็นเซลล์มีลักษณะ ๒ ลักษณะคือ สามารถปรับตัวสร้างเยื่อร่างกายทุกชนิดและในขณะแบ่งตัวได้เพื่ออยู่ต่อไป ในอนาคตเซลล์ต้นกำเนิดจะใช้เพื่อรักษาโรคบางชนิด
ศ. Davor Solter ได้บรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของวิชาเซลล์ต้นกำเนิด เซลล์มีสรรพสามารถคือสร้างเยื้อร่างกายทุกชนิดไม่ได้ใช้มากนัก แต่เซลล์ที่มีประโยชน์มากกว่าอยู่ในสภาวะภูริสามารถคือ สร้างเยื่อร่างกายทุกชนิดได้ยกเว้นเยื่อนอกตัวอ่อน เช่น รกในครรภ์ สายสะดือ ถุงน้ำคร่ำ เป็นต้น อ. ชี้ว่า ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดอาศัยในการวิจัยเยื่อมะเร็งยักษ์ เป็นมะเร็งที่พบในอวัยวะเพศมนุษย์ แต่ในสัตว์หายากมาก เช่น หนู เป็นต้น เนื้องอกประกอบด้วยเยื่อหลายชนิด อาทิ กล้ามเนื้อ ประสาท กระดูกอ่อน และอื่นๆ นักวิทยาศาสตร์สมัยก่อนอยากเข้าใจวิธีที่มะเร็งสร้างเยื่อหลายชนิดได้ เหมือนกับเซลล์ตัวอ่อนที่สามารถสร้างเยื่อร่างกายทุกประเภท อาจารย์กล่าวถึงการทดลองที่พบว่า สารเคมีย่อมชักชวนเซลล์ไปสร้างเยื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น กรดเรติโนยก์ อ. ระบุว่า แม้ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ความรู้ด้านเซลล์ต้นกำเนิดของหนูต้องรอมากกว่า ๒๐ ปีถึงทีสร้างเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์ได้ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑  นอกจากนี้อาจารย์ชี้อุปสรรคในปัจจุบันที่ยังไม่ให้นำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้เพื่อรักษาโรค เช่น ส่วนใหญ่ยังไม่มีสัตว์ทดลองที่เป็นตัวแบบของโรคทุกโรค สัตว์ดังกล่าวจะใช้เพื่อทดลองวิธีรักษาก่อนที่จะใช้กับมนุษย์
ศ. Peter Andrews สนใจในเซลล์ต้นกำเนิดที่มีลักษณะคล้ายเซลล์มะเร็ง อ. กล่าวว่า เซลล์ต้นกำเนิดแบ่งตัวทุก ๒๐ ช.ม. ขณะเลี้ยงเซลล์ทุกวันบางที่จะเสียเกือบร้อยละ ๙๐ ของประชากรแรก มีเพียงร้อยละ ๑๐ ที่ไปอยู่สภาพเดิมได้ ต้องสังเกตที่ขณะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดเปลี่ยนไป จะเห็นอย่างชัดเจนขณะตรวจโครงสร้างโครโมโซม ตัวที่เปลี่ยนไปมีแต่ 12p; 17q; และ X  ไม่ใช่ทุกตัว เหมือนกันมะเร็งยักษ์ที่โครโมโซมสามตัวนี้เปลี่ยนไป อ. กล่าวว่า แนวคิดใหม่คือ แม้ว่าเซลล์ต้นกำเนิดมีเอกลักษณ์แล้วจะอยู่ในสภาพหลายสภาพได้ เหมือนกับอนุภาคของวิชาฟิสิกส์อยู่ในสมดุลในบริเวณที่พลังงานต่ำที่สุด  ลักษณะภูมิประเทศพลังงานดังกล่าวจะมีหุบเขา ขณะเซลล์ถูกกระตุ้นเหมือนกับให้พลังงานขึ้นภูเขาไปที่หุบเขาอื่น อ. ศึกษาการเดินของเซลล์ต้นกำเนิดในจานเลี้ยง พบว่า เดินไปๆ มาๆ แบบไม่มีแบบแผน แต่บางทีเริ่มเดินตรงเหมือนที่ไปหาเพื่อนและสร้างกลุ่มเซลล์
ดร. Bruno Reverside บรรยายเกี่ยวกับความสามารถของตัวอ่อนสร้างร่างกายมากกว่าหนึ่งตัว ไข่มนุษย์สามารถสร้างลูกแฝดถึง ๕ คน ถ้าตัวอ่อนแบ่งตัวช่วงแรกแต่ละคนจะมีถุงน้ำคร่ำส่วนตัว แต่สิ่งที่พบมากกว่าคือตัวอ่อนแบ่งตัวที่หลัง กลุ่มเซลล์ภายในบลาสโทซิสต์ทำให้เกิดตัวอ่อนสองตัวที่มีถุงน้ำคร่ำถุงเดียว เขาสนใจหาหน่วยพันธุกรรมที่ทำให้เกิดลูกแฝด เขาสังเกตที่สัตว์บางชนิด เช่น ตัวนิ่มเกิดลูกแฝดสี่ตัวเป็นปกติ ต่อไปพบว่าที่ประเทศจอร์แดนมีครอบครัวที่ได้ลูกแฝด ๑๖ ครั้งใน ๓ รุ่น ศึกษาครอบครัวเรียบร้อยแล้ว พบหน่วยพันธุกรรมใหม่ตั้งชื่อ เอลาเบลลา (ชื่อลูกเสาเขา) ยีนเอลาเบลลาแสดงออกเป็นโปรตีนมีกรดอะมิโน ๕๒ ตัว พบในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิด จะแสดงออกในบริเวณสุดท้ายของหลอดประสาท เขาสันนิษฐานว่า โปรตีนเอลาเบลลาทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
ดร. Katie Avery กล่าวต่อเกี่ยวกับบทบาทหน่วยพันธุกรรมเอลาเบลลาในการทำงานของเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์ หน่วยเอลาเบลลาแสดงออกพร้อมกับหน่วยอื่นๆ ที่เป็นสัญลักษณ์สภาวะสรรพสามารถ และโปรตีนเอลาเบลลาจะพบที่นิวเคลียส เขาใช้  SiRNA เพื่อเว้นหน่วยพันธุกรรมเอลาเบลลาแสดงออกมา ขณะนั้น OCT4  แสดงออกเป็นปกติ แต่  NANAOG เพิ่มขึ้นนิดหน่อย สัญลักษณ์สภาวะสรรพสามารถชนิดอื่นจะน้อยลงด้วย ดูเหมือนกับว่า หน่วยพันธุกรรมเอลาเบลลาเปลี่ยนการแผนงานพัฒนาการ เหมือนกับยีน Lin28 ในมนุษย์
ศ. Barbara Knowles บรรยายหัวข้อ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเซลล์ไข่เปลี่ยนเป็นตัวอ่อน ขณะไมโอซิสเสร็จเรียบร้อยแล้ว โครงสร้างปรับโครโมโซมคือการเติมหมู่เมทิลเอง ต้องสร้างใหม่ แต่ขณะนั้นหน่วยพันธุกรรมไม่ได้ถอดรหัส เพราะว่าหน่วยพันธุกรรมตัวอ่อนจะถูกกระตุ้นขณะที่ได้ยังน้องสองเซลล์ เขาศึกษาหน่วยพันธุกรรมที่แสดงออกในเซลล์ไข่ แต่ไม่แสดงออกในตัวอ่อน พบว่า ร้อยละ ๑๕ ของหน่วยดังกล่าวเป็นหน่วยชนิดที่ขยายที่ได้ (retrotransposon) มีลักษณะคล้ายกับรีโทรไวรัสแบบ HIV แต่ไม่มีอนุภาคไวรัส คือเหมือนกับที่ไวรัสผิดปกติทำงานเป็นไวรัสไม่ได้ อ. กล่าวว่าหน่วยพันธุกรรมของเราเกือบร้อยละ ๔๐ เป็น  retrovirus ที่ผิดปกติ ในเซลล์ไข่ยังพบโปรตีนรัดรดอยู่อบนิวเคลียส (ก.ร.น.) MPP6 ที่มีบทบาทในรักษาความความมั่นคงของ ก.ร.น. ไม่ให้ถูกย่อย นอกจากนี้ยังมีหน่วยพันธุกรรมที่แสดงออกมากๆ ในเซลล์ไข่คือ Spin1 ที่ยังไม่ทราบทำหน้าที่อะไร แต่นิสิตของอาจารย์พบว่า  Spin1 จะรัดกับโปรตีนรัด ก.ร.น. ชื่อ SERPINE อยู่ในเม็ดเล็กๆ เก็บ ก.ร.น. ในเซลล์ ต่อไปเขาศึกษาหน่วยพันธุกรรม Trim28 และหาวิธีหน่วยมาจากแม่ห้ามแสดงออก พบว่าตัวอ่อนปกติ แต่เสียในขั้น E5.5 คือไม่สามารถปลูกฝังตัวได้ ส่วนตัวเปรียบเทียบของเขาอยู่ถึงขั้น E7.5 สรุปแล้ว Trim28 จำเป็นให้เซลล์ไข่เติบโตและมีบทบาทในปรับโครงสร้างโครโมโซม
ดร. จันทร์เจ้า ล้อทองพาณิชย์ กล่าวถึงการปรับแผงการพัฒนาการในตัวอ่อนเป็นเซลล์ตัวเดียว ส่วนใหญ่ไซโกตไม่สามารถเปลี่ยนการแผนงานพัฒนาการ ขณะเอานิวเคลียสออกใส่นิวเคลียสตัวใหม่จะไม่ได้พัฒนาเป็นตัวอ่อน ความสามารถดังกล่าวมีเกี่ยวของกับการเติมหมู่เมทิลในดีเอ็นเอ อ.พบว่า ปัญหาอยู่ในวิธีเอานิวเคลียสออก ถ้าให้เปลือกนิวเคลียสแตกและเคยๆ เอาเส้นใยโครมาทินออกไซโกตจะใช้ได้ สาเหตุคือ น่าจะมีโปรตีนเป็นปัจจัยในเปลี่ยนการแผนงานพัฒนาการที่อยู่ภายในนิวเคลียส ปัจจัยดังกล่าวจะหายถ้านำนิวเคลียสออกทั้งตัว
ดร. Stuart Avery กล่าวถึงเส้นทางส่งสัญญาณสองทางคือ ทางที่ใช้ TGFβ และทางที่ใช้ BMP การทำงานของสองทางนั้นตัดสินใจชะตาของเซลล์ อาจอยู่ต่อ อาจปรับเป็นเยื้ออื่น หรือทำอัตโนฆาต เช่น การกระตุ้นทางที่ใช้ TGFβ  ทำให้เซลล์อยู่ต่อในสภาพเดิม ถ้าให้กระตุ้นทางที่ใช้ BMP เซลล์จะเปลี่ยนเป็นเยื่อนอกตัวอ่อน แต่ทางทั้งสองทางใช้ SMAD4 ถ้าห้ามยีน SMAD4  ทำงานเซลล์ไม่สามารถปรับตัวได้
ศ. ยินดี กิติยานันท์ บรรยายเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดจากควายและความสามารถในปรับตัวเพื่อสร้างเยื่ออื่นๆ เซลล์ต้นกำเนิดจากความมีสัญลักษณ์ตัวทั่วไป ได้แก่  Oct4 SSEA-1; SSEA-3; SSEA-4; TRA-1-60; และ TRA-1-81 เซลล์ต้นกำเนิดสามารถปรับตัวเป็นเนื้อเยื่อชั้นในเนื้อเยื่อชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นนอกได้ เขายังใช้หนูเปลือยเพื่อพิสูจน์ที่เซลล์ต้นกำเนิดสามารถสร้างเนื้องอกยักษ์ได้
วันที่สองของประชุมคือ วันอาทิตย์ ๒๕ ก.ค ศ. Peter W Andrews กล่าวถึงระบบเครือข่ายระหว่างห้องปฏิบัติการในหลายประเทศ เช่น ISCF และ ESTOLS อ. กล่าวว่า ในปัจจุบันนี้ไม่จำเป็นที่ต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างในสถานที่เดียวกันและให้ใช้ทั้งวัตถุและความรู้ร่วมกัน
ต่อไป ปฐมพล วงศ์ตระกูลเกตุ กล่าวถึงการเติมและนำออกหมู่เมทิลที่ปรับดีเอ็นเอในเซลล์มีสภาวะสรรพสามารถและเซลล์สภาวะอสามารถคือ เซลล์ที่ไม่สามารถปรับเพื่อสร้างเยื้อได้ เขาใช้เซลล์มะเร็ง N2102Ep เป็นตัวแทนเซลล์ในสภาวะอสามารถ เขา.ใช้สาร aza-deoxycytidine เพื่อไม่ให้เติมหมู่เมทิล พบว่า ขณะนำออกหมู่เมทิลจากดีเอ็นเอเซลล์ต้นกำเนิดจะทำให้สัญลักษณ์สภาวะสรรพสามารถน้อยลงและเซลล์จะปรับตัว ส่วนเซลล์มีสภาวะอสามารถจะทำอัตโนฆาตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เขาทำให้หน่วยพันธุกรรมเอนไซม์ที่เติมหมู่เมทิล DNMT3B เฉื่อยชา พบว่า เอนไซม์ดังกล่าวมีบทบาทในการปรับตัวและควบคุมการทำอัตโนฆาต ซึ่งอาจะมีประโยชน์รักษามะเร็งบางชนิดได้
ดร. Kaanjna Thumanu บรรยายหัวข้อ การกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่นใต้สีแดงโดยใช้ลำแสงจากเครื่องสินโครตรน อ.กล่าวว่า ส่วนประกอบของเซลล์แต่ละชนิดจะกลืนแสงไม่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นเหมือนกับลายนิ้วมือที่ระบุเอกลักษณ์ได้ ขณะเซลล์เปลี่ยนไปลักษณะทางด้านกลืนแสงจะเปลี่ยนด้วย ส่วนลำแสงจากเครื่องสินโครตรนมีฤทธิ์มากสามารถศึกษาเซลล์ตัวเดียวหรือส่วนของเซลล์ได้
หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเรียบร้อยแล้ว ศ. Qi Zhou บรรยายเกี่ยวกับการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดชนิด iPS โดยเอาเซลล์จากตัวอ่อนสองตัวมารวมกัน ดร. ปริญญา น้อยสา กล่าวถึงวิทยานิพนธ์ของเขา เขาระบุว่า เซลล์ต้นกำเนิดปรับตัวเป็นเซลล์ประสาทใน ๕ ขั้น ขณะสัญลักษณ์ TRA-1-81 หาย แต่ SSEA4 ยังอยู่เซลล์เปลี่ยนเป็นประสาทเริ่มต้น (ขั้นที่ ๒) ต่อไปได้สองขั้วเป็นผิวประสาท มีรูปเหมือนกับเซลล์เกลียรัศมีของหลอดประสาท (ขั้นที่ ๓) ต่อไปเปลี่ยนเป็นเซลล์ที่เลี้ยงนานๆ ได้ แต่ต้องมีปัจจัยในเติบโต bFGF และ EGF (ขั้นที่ ๔) ดร. นพพร จงกมลวิวัฒน์ กล่าวถึงการปลูกฝังเซลล์ต้นกำเนิดในหูส่วนในของเจอร์บิลที่เป็นหูหนวก ที่หลังเขาตรวจการทำของหูพิสูจน์ที่รักษาอาการหูหนวกได้ บรรยายสุดท้ายโดย พ.ศ. รังสรรค์ พาลพาย กล่าวถึงความสำคัญของการทำวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดและกล่าวถึงการวิจัยที่สุรานรี เช่น สร้างโคมากกว่า ๘ รอบโดยใช้เทคโนโลยีย้ายนิวเคลียส เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มคอ. คืออะไรครับ

กรอบาตรฐานุณวุฒิระดับุดมศึกษาแหงชาติหรือ มคอ. เป็นนโยบายที่พยายามให้การศึกษาดีขึ้นและสามารถเปรีบบเที่ยบคุณภาพระหว่างสถาบันการศึกษาต่างๆ นโยบายเน้นเป้าหมายและการประเมิน ส่วนเป้าหมายมี ๕ ข้อ ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ความรู ทักษะทางปญญา ทักษะความสัมพันธระหวางบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะหเชิงตัวเลข การสื่อสารและการใชเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้นโยบายให้คำนิยามคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้ชัดเจน

กรอบ มคอ. ใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และแกไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ กระทรวงศึกษาธิการประกาศกรอบดังกล่าววันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการอุดมศึกษาประกาศลงมติในวั น ที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ และแนวทางการปฏิบัตออกมาในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

โดยกรอบ มคอ. สถาบันการศึกษาหลายสถาบันจะมีลักษณะที่สำคัญเท่ากัน เช่น นิสิตจบปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาใดมีทักษะเท่ากับนิสิตของสถาบันการศึกษาอื่นของประเทศไทย คือมโนคติคล้ายกันกระบวนการแห่งโบโลญญาของสหภาพยุโรป ยกตัวอย่างเช่น ที่ยุโรปผู้ใช้ทักษะภาษาเยอรมันระดับ C2 ไม่ว่าจบจากสถาบัน Goethe หรือวิทยาลัยขนาดเล็กใดๆ ที่ประเทศอิตาลีจะมีความสามารถเท่ากัน กรอบ มคอ. ของประเทศไทยไม่ได้หมายความว่าที่ผู้จบจากสถาบันจะมีความรู้เหมือนกัน ความรู้หลักที่กรอบ มคอ. กำหนดคือ พื้นฐานความต้องการน้อยที่สุดที่หลักสุตรต้องมี แต่ละสถาบันสามารถเน้นเพิ่มเติมอะไรในลักสุตรได้