วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการการศึกษาลาว

การศึกษาในประเทศลาวได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะปัจจุบัน ขณะศึกษาประวัติศาสตร์บางที่เน้นการเมืองและการปกครองมากถึงที่ไม่ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของความรู้และการถ่ายทอดความรู้

ต้องยอมรับที่สมัยก่อนเมืองลาวไม่มีรูปแบบปัจจุบัน สถาบันการศึกษาคือ วัด เด็กชายที่บวชเป็นสมาเณรได้โอกาสรู้อักษรและเรียนหลักศาสนา ส่วนเด็กหญิงคงไม่ได้เรียน ไม่ต้องแปลกใจที่สมัยก่อนผู้หญิงและผู้ชายมีบทบาทในสังคมที่ต่างการ ความจริงไม่ควรใช้เกณฑ์ปัจจุบันเพื่อพิพากษาอดีต อย่างไรก็ตาม ที่หลังสมัยฝรั่งเศสมาปกครองพื้นที่ เขาได้ตั้งโรงเรียนและพิมพ์หนังสือ หนังสือประถมศึกษาเป็นภาษาลาวออกมาครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๓ และหนังสือระดับมัธยมศึกษาติดตามมาในปีต่อไปพร้อมกับการเปิดโรงเรียนโดยออกุสต์ ปาวี (Aguste Pavie) ข้าหลวงใหญ่ของฝรั่งเศสประจำลาวคนแรก ต่อมาภายใน พ.ศ. ๒๔๗๕ มีนักเรียน ๗,๐๓๕ คน (เด็กหญิง ๙๗๖ คน) ที่เข้าศึกษาอยู่ในโรงเรียนรัฐบาล กลุ่มนักเรียนเหล่านี้ประกอบด้วยเด็กลาวชนเผ่าต่างๆ และเด็กเวียดนาม

หลังจากมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ตั้งคณะกรรมการวรรณคดี (Comité-littéraire du Laos) ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ (ຮາດສະພະບັນດິດ, Académie Royale du Laos) ใน พ.ศ. ๒๕๑๓ องค์กรมีเป้าหมายทำให้ภาษาลาวทันสมัยและพัฒนาศัพท์ใหม่ทางด้าน นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฟิสิกส์ บรรณารักษ์ศาสตร์ ชีววิทยา ฯลฯ เช่น ศัพท์ ธาตุเหลือง (ດາດເຫຼືອງ, corpus luteum) ที่ใช้ในหนังสือนักเรียนถึงปัจจุบันนี้ เป็นศัพท์ที่ประดิษฐ์ใหม่

ในทศวรรษ ๒๕๑๐ ลาวได้เห็นกิจกรรมทางด้านวีชาการเพิ่มมากขึ้น ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ วารสาร Mittasone เร่มออกมา ต่อไปใน พ.ศ. ๒๕๑๓ วารสารภาษาฝรั่งเศส Bulletin des Amis du Royaume Laos ติดตามมาด้วยบทเกี่ยวกันเรื่องต่างๆ และใน พ.ศ. ๒๕๑๖ ออกฉบับพิเศษเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศลาว วารสานอื่นๆ ติดตามมา เช่น วารสารไผ่หนาม (ໄຜ່ໜາມ พ.ศ. ๒๕๑๕) ซึ่งมีบทความเกี่ยวกับวรรณคดีและประวัติศาสตร์ โดยการการแนะนำของนักเขียนและนักประวัติศาสตร์ มหาศีลา วีรวงศ์ (ມະຫາສີລາ ວີຮະວົງ) ต่อไปมีวารสาร นาง เป็นวารสารแรกในลาวที่มาอภิปรายเรื่องที่เป็นความสนใจของผู้หญิง และใน พ.ศ. ๒๕๑๔ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรกในลาวออกมา (Vientiane Times) ออกมา

หลังจากตั้งสาธารณรัฐประชาชนลาวหรือ สปป. ลาว ถึงปัจจุบันนี้การศึกษาอย่างต่อเนื่อง ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ ออกวารสารอัปเดต (ອັບເດດ) ตอนนี้นอกจากฉบับพิมพ์ยังมีฉบับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเฟซบุ๊ก ที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประเทศลาวได้เปิดมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ซึ่งในปัจจุบันนี้มีคณะ ๑๑ คณะ พร้อมกับโรงพยาบาล

เอกสารอ้างอิง
Evans, G (2012) A short history of Laos: The land in between, Silkworm books, Bangkok