หนังสือใหม่ ระบบประสาทและการทำงาน ของ นพ.สมนึก นิลบุหา เล่าการทำงานของระบบประสาทใน ๒๖๔ หน้าจัดเป็น ๑๙ บท สาระสำคัญมีประสาทกายวิภาคศาสตร์หรือโครงสร้างระบบประสาท เล่มนี้ไม่ได้อธิบายโครงสร้างอย่างเดียว แต่นำประเด็นสำคัญของระบบประสาทที่อาศัยโครงสร้างมาวิเคราะห์ เช่น ในหน้า ๒๑๖ มาอธิบายสาเหตุทำไมขณะที่หลอดเลือด ปิก้า อุดตันจะเสียความสัมผัสเจ็บปวดและอุณหภูมิในด้านร่างการตรงกันข้ามกับที่อุดตัน สำหรับอาจารย์และผู้สำเร็จเรียนวิชามาแล้วประเด็นนี้ชัดเจน ส่วนนิสิตแพทย์ที่เพิ่งเรียนหรือยังเรียนระบบประสาทอยู่เรื่องนี้คล้ายกับไสยศาสตร์
หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เล่มประสาทกายวิภาคศาสตร์โดยตรง แต่นำประเด็นจากวิชาดั่งกล่าวที่มีความสำคัญเท่านั้นมาอธิบาย เช่น ไม่ได้เล่าเรื่อง dermatome อย่างละเอียด แม้ว่าสำคัญอาจจะทำให้ผู้เริ่มเรียนซับซ้อน
เล่มเริ่มเล่าส่วนๆ ของระบบประสาทและลักษณะสำคัญของเซลล์ประสาทและเซลล์เกลีย ต่อไปเล่าถึงกล้ามเนื้อและปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นจากดึงกล้ามเนื้อ ประเด็นนี้สำคัญ เพราะว่าความผิดปกติของระบบประสาทบางชนิจะแสดงออกโดยผู้ป่วยไม่สามารถนำกล้ามเนื้อมาทำงาน แม้ว่ากล้ามเนื้อไม่ใช่ระบบประสาท แพทย์จะตรวจกล้ามเนื้อเพื่อพิสูจน์ว่าระบบประสาททำหน้าที่อยู่หรือไม่ เป็นกรณีเหมือนกับเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจความสะอาดของถนนเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ว่าราชการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม บทต่อไปมาอธิบายเรื่องวิถีประสาท ทั้งวิถีประสาทและวิถีประสาทลง เรื่องนี้ซับซ้อนพอสมควร แต่เล่มทำให้ง่ายกว่า โดยเน้นข้อมูลที่วิถีประสาทถือไปส่งอยู่ ไม่ได้เน้นโครงสร้าง บทต่อไปอธิบายวิถีประสาทที่เดินทางจางเปลือกสมองทางไขสังหลัง ไปควบคุมเซลล์ประสาทสั่งการ ส่วนต่อไปอธิบายงานกลุ่มเซลล์ใต้สมอง ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ แม้ว่าระบบนี้ไม่ได้ควบคุมประสาทสั่งการโดยตรง ต่อไปบทที่ ๔ อธิบายงานของเปลือกสมองแต่ละบริเวณ โดยเอาบริเวณที่เกี่ยวข้องมาร่วมกัน เช่นบริเวณที่ ๑๘-๑๙ ซึ่งมีเกี่ยวข้องกับความมองเห็น และบริเวณที่ ๘ ซึ่งมีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของตา นำมาพรรณนาพร้อมกัน
บทต่อไปมาเล่าเรื่องประสาทสมอง ๑๒ คู่ ที่นี่อาจารย์ใช้แนวคิดอนุรักษ์นิยม มาอธิบายส่วนกิจกรรม (GSA, SSA, GVA, ฯลฯ) อย่างอ่านในตำราอื่นๆ แต่พร้อมกับประสาทสมองแต่ละคู่มีอาการและอาการแสดงด้วย จากนั้นอธิบายกลไกการเคลื่อนไหวของตา ใน ๔ บทต่อไปมาเล่าเรื่องประสาทสัมผัส มีการได้ยีน ระบบทรงตัวภายในหู และการรู้รส แต่ไม่มีการดมกลิ่น ซึ่งมาอธิบายที่หลังพร้อมกับระบบลิมบิก ต่อไปมีไฮโปทาลามัส ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ด้วย
บทที่ ๑๔ อธิบายระบบลิมบิก ความทรงจำ และความกลัว เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างบริเวณต่างๆ ของระบบลิมบิกซับซ้อนพอสมควรอาจารย์ไม่ได้ใช้ส่วนที่ตัดออกมาวาด แต่ใช้แผนภาพเพื่อแสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง มีแต่รูป ๑๔.๑ รูปเดียว ซึ่งแสดงสมองหั่นตามยาย บทที่ ๑๕ อธิบายโครงสร้างสมองน้อย (อนุสมอง) โดยใช้ตารางสรุปวิถีประสาทเข้าและวิถีประสาทออกเพื่อจะได้เห็นภาพร่วมอย่างง่ายๆ ต่อไปบทที่ ๑๖ อธิบายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและไขสังหลัง มีภาพประกอบที่แสดงพื้นที่ที่หลอดเลือดไปบริการอาหารให้ นอกจากนี้ยังเล่าความผิดปกติหลอดเลือดด้วย ทั้งหลอดเลือดอุคตันแบะหลอดเลือดแตก ตลอดจนอาการที่อาจจะเกิดขึ้น สิ่งที่น่าสังเกตที่อาจารย์จำแนกความแตกต่างกับอาการที่มาเร็วและช้า ส่วนสองบทต่อไป (บทที่ ๑๗-๑๘) อธิบายเกี่ยวกับโพรงสมอง น้ำไขสังหลัง และความดันอุทกสถิตภายในกะโลกศีรษะและการเกี่ยวข้องกับความดันโลหิต บทสุดท้ายเป็นบทบูรณการ อธิบายวิธีหาจุดผิดปกติในผู้ป่วนระบบประสาทโดยวิเคราะห์อาการและอาการแสดง
นิสิตนักศึกษาที่เรียนประสาทกายวิภาคศาสตร์ส่วนใหญ่ใช้ตำราของ อ.มีชัย ศรีใส (พ.ศ. ๒๕๔๖, ๕๐๘ หน้า) ซึ่งเป็นเล่มสมบูรณ์ ประกอบด้วยรูปถ่ายอาจารย์ใหญ่และภาพ CT ในผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ ส่วนนิสิตหนักศึกษาที่อ่านภาษาอังกฤษอย่างสะดวกมักอ่านตำราของ D. Haines (Fundamental neuroscience for basic and clinical applications, พ.ศ. ๒๕๔๘, ๖๐๘ หน้า) สองเล่มนี้เป็นเล่มสมบูรณ์และละเอียด แต่ขณะเริ่มนิสิตหนักศึกษาต้องมีอดทนอย่างสูง เพราะว่าไม่ได้เห็นภาพร่วม ส่วนเล่มของ นพ.สมนึก จะให้เห็นภาพร่วมและความสำคัญของแต่ละหัวข้อในทั้งที่ เหมาะสมสำหรับผู้ทบทวนวิชาและผู้เริ่มเรียน
วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)