หนังสือ ครูในฐานะผู้ทำงานวัฒนธรรม ของ เปาโล แฟรร์ กล่าวถึงความเป็นครูบาอาจารย์ที่มีคุณภาพ เป็นหนังสือที่น่าอ่านมีประเด็นต่างๆ ที่หน่าสนใจสำหรับผู้สอนในระดับอุดมศึกษา เปาโลเป็นเจ้าบราซิลเขียนต้นฉบับหนังสือเป็นภาษาโปรตุเกส พิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่วนฉบับภาษาไทยแปลจากภาษาอังกฤษโดย อ. สดใส ขันติวรพงษ์
สิ่งแรกที่ต้องพูดคือ เรื่องชื่อหนังสือ ฉบับภาษาอังกฤษชื่อ “Teachers as cultural workers: Letters to those who dare to teach” แต่ต้นฉบับต้นภาษาโปรตุเกสชื่อ “Professora sim, tia não: cartas a quem ousa ensinar” หมายความว่า ครูไม่ใช่ป้า : จดหมายถึงผู้ที่กล้าสอน คำปฏิเสธอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับภาษาอังกฤษเปลี่ยนเป็น ผู้ทำงานวัฒนธรรม ในสังคมบราซิลสมัยก่อน (ปัจจุบัน ?) ครูชอบเอาใจนิสิต แต่ความจริงการสอนคือการให้เปลี่ยนพฤติกรรม เอาใจมากไม่ได้ อ. เปาโลกล่าวว่า “แต่ไม่ได้หมายความว่างานสอนจะเปลี่ยนบทบาทของครูไปเป็นพ่อหรือแม่ของนักเรียน” (น. ๒๐) สถานศึกษาไม่เหมือนบ้าน อ. เปาโลเคยบอกนิสิตว่า “เมื่อเธอพูดจบ ผมพูดสั้นๆ แสดงความเห็นว่าเธอมีสิทธิ์ที่จะสงสัยผมและมีสิทธ์ที่จะแสดงความสงสัยนั้นในที่สาธารณะ” (น. ๑๑๕) ภายหลังนิสิตของ อ. เปาโลแสดงความเห็นได้ 'คุณเปาโลคะ หนูอยากได้โรงเรียนที่ไม่เหมือนแม่ของหนู โรงเรียนที่มีความเชื่อมั่นกับเด็กๆ ไม่คิดว่าเด็กบางคนคอยแต่จะทำความเดือดร้อนให้คนอื่น' (น. ๑๑๖) อันนี้เป็นความหมายที่ครูไม่ใช่ป้าไม่ใช่ลุง
หนังสือของ อ. เปาโล ประกอบด้วย ๑๒ บท หรือ จดหมาย ส่วน จ.ม. ที่สี่กล่าวถึงคุณลักษณะจำเป็นสำหรับครูก้าวหน้า อ. เปาโลระบุคุณลักษณะ ๖ ข้อที่ครูพึงมี อาทิ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรักความเมตตา ขันติธรรม การตัดสินใจอย่างแน่วแน่ การประหยัดถ้อยคำและการมีชีวิตที่มีความสุข อ. เปาโลอธิบายว่า “จิตใจที่หนักแน่นมั่นคงในท่ามกลางความไม่มั่นคงเป็นลักษณะหนึ่งของความถ่อมตน” (น. ๘๐) แต่ไม่ใช่หมายความว่าที่จะเอาใจเด็กหรือตกในสิ่งที่เขาเรียกว่า อำนาจนิยม ส่วนคุณลักษณะการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ อ. เปาโลแสดนว่า ต้องรู้ว่า เรากำลังทำอะไร ต้องรู้เราทำไปทำไมและต้องตริตรองว่า จะสิ้นสุดอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่มีเหตุผลและทุกคนทราบแล้ว แต่ต้องให้อาจารย์เปาโลมาเตือน
ต้องยอมรับที่ อ. เปาโลมีสังคมบราซิลเป็นเป้าหมาย สังคมอดีตสมัย ๑๐-๑๕ ปีที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่สังคมนั่นคนใช้เงินไปในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่นก่อสร้างอุโมงค์ คนบราซิลสมัยนั้นไม่เห็นความสำคัญของงาน ชอบฆ่าเวลา มีผู้บริหารบราซิลบ้าอำนาจ เป็นสังคมที่ต้องสู้กับประเพณี ฯลฯ อย่างไรก็ตามความคิดพื้นฐานน่าสนใจและสามารถประยุกต์ได้ในสถานการณ์การเรียนการสอนทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอนุบาลหรืออุดมศึกษา บางทีเปาโลเขียนด้านทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง เช่น จ.ม. ที่แปดเรื่อง อัตลักษณ์วัฒนธรรมกับการศึกษา (Identidade cultural e educaçaõ) ที่อาจต้องอ่านหลายรอบถึงที่จะเข้าใจและจะนำมาเล่าในโอกาสต่อไป
วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)